การอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

Main Article Content

ชนิชา หิรัญธนาภัทร
ฐิรชญา ชัยเกษม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น ที่มีส่งผลต่อการส่งเสริม  การท่องเที่ยวเชิงอาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเสนอแนวทางการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การเก็บข้อมูลมีทั้งในรูปแบบเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และการใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว และซื้อผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายในชุมชนกุดจิก ผู้ให้ข้อมูล คือ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และชุมชน     ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมในพื้นที่ ปัจจัยด้านคุณประโยชน์ และปัจจัยด้านสถานที่การเข้าถึง ส่งผลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จึงนำมาเสนอแนวทางการอนุรักษ์อาหารพื้นถิ่น “หมี่กุดจิก” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้แก่ แนวทางด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมในพื้นที่ แนวทางด้านคุณประโยชน์ และแนวทางด้านสถานที่การเข้าถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.

เลอทัด ศุภดิลก. (2556). A2Z. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เคเอ็ม

กิ่งกนก เสาวภาวงศ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ระหว่าง อุด้ง เมืองมิซึซาวะ จังหวัดกุนมะ ประเทศญี่ปุ่น และข้าวซอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 340-355.

จิดาภา พันธุ์ทอง, 2557). หมี่โคราช หมี่ 100 ปี แปรรูปข้าว จากภูมิปัญญาดั้งเดิม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=66

&s=tblrice

ณภัทร นาคสวัสดิ์, พยอม ธรรมบุตร, สุรชัย จิวเจริญสกุล และศักด์ชัย นิรัญทวี. (2562). แนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวด้านอาหารภาคใต้เชิงสร้างสรรค์แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(1), 17-28.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). ตื่นตะลึงท่องเที่ยวไทย ทำรายได้พุ่งกระฉูดที่หนึ่งแห่งเอเชีย ที่สี่ของโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/daily/detail/

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. (2558). ผัดหมี่โคราช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.m-culture.go.th/nakhonratchasima/ewt_news.php?nid=19&

filename=Index

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ. (2559) WHO, OIE, FAO นโยบายร่วมด้านสุขภาพที่สำคัญระดับโลกที่เรียกกันว่า “สุขภาพหนึ่งเดียว”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.swinethailand.com/16843971/whooiefao-AD-one-health

อัตตนาถ ยกขุน, ชนกนารถ ราชภักดี และธนิสร พิตรชญารมย์. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(1), 60-68.

Almerico, G.M. (2014). Food and identity: Food studies, cultural, and personal identity. Journal of International Business and Cultural Studies, 8, 1-7.

Bukharov, I. (2018). The role of tourist gastronomy experiences in regional tourism in Russia. Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 10(4), 449-457.

Ellis, R., Li, S. and Zhu, Y. (2018). The effects of pre-task explicit instruction on the performance of a focused task. System, 80, 38-47.

Sekaran, U. & Bougie, R. (2020). Research Methods for Business. (8th ed). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Stone, M.J., Migcz, S. and Sthapit, E. (2018). Connections Between Culinary Tourism Experiences and Memory. Journal of Hospitality & Tourism Research, 46(4), 23-36.