การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ เรื่อง สาร ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุภัคชา มลวัง
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์

บทคัดย่อ

          ทักษะการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นนักเรียนจึงควรได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ และศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพ ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกกิจกรรม และแบบประเมินความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนและด้านการพูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ ควรมีลักษณะดังนี้ 1) ควรเลือกปรากฏการณ์ใกล้ตัวที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงบริบทและวัยของนักเรียน
ใช้สื่อที่หลากหลายในการนำเสนอปรากฏการณ์ 2) ควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างอิสระ เพื่อให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ระดมความคิดสู่การตั้งคำถามต่อปรากฏการณ์ร่วมกัน 3) กำหนดเงื่อนไขการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการสืบเสาะที่หลากหลายนำไปสู่การอธิบายต่อปรากฏการณ์ 4) ตรวจสอบความเข้าใจผ่านการคิดเป็นภาพ ช่วยให้นักเรียนเห็นภาพและเข้าใจต่อปรากฏการณ์มากยิ่งขึ้น พร้อมนำมาเป็นสื่อกลางประกอบการอธิบายร่วมกับการใช้ภาษาที่สองเป็นตัวเลือกในการนำเสนอ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความมั่นใจ และพัฒนาการสื่อสารด้านการพูดให้ดียิ่งขึ้น และผลการศึกษาการพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีแนวโน้มในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านการเขียนและด้านการพูดเพิ่มสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่ออการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกร อรรจนาวัฒน์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์และการทางานเป็นทีมโดยใช้

การจัดการเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุ

ศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาต ผาสุข. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบ DEEPER scaffolding framework.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. วารสาร

ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4 (1), 50-59.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2558). จากโลกสู่ไทย ทิศทางใหม่ของการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ปรับห้องเรียนเปลี่ยน

อนาคต: ทักษะการคิดแบบผู้เชี่ยวชาญ และการสื่อสารที่ซับซ้อน (ตอนที่ 1). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18

กรกฎาคม 2565 แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2015/03/education-for-the-future_1/

ศิโรรัตน์ เตชะแก้ว. (2563). การพัฒนาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาท และ

ระบบโครงร่างและการเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้

แบบห้องเรียนกลับทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สาริญา และสุม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาชีววิทยา ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์:

จุลดิสการพิมพ์.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมี

วิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษา

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อภิวรรณ แก้วภูสี. (2556). ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Barak, M., & Hussein-Farraj, R. (2013).Integrating model based learning and animations

forenhancing students’ understanding of proteins structure and function.Res. Sci.

Educ. 43 (2), 619–636

Kulgemeyer, C & Schecker, H. (2013). Students explaining science assessment of

sciencecommunication competence. Research in Science Education. 43, 2235-2256.

Smajdek,A., & Selan, J.(2016). The Impact of Active Visualisation of High School Students

on the Ability to Memorise Verbal Definitions.University of Ljubljana.

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-based Learning: What is PBL?. Online. Retrieved July 19, 2022, from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl