การพัฒนาการพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น เป็นการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 54 คน 2) ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 โรงเรียน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอน ในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ฯ เป็นแบบฝึกหัด และตัวอย่างข้อสอบท้ายบท ตามหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 1 ประกอบด้วย 5 เรื่องคือ ห.ร.ม.และค.ร.น. เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละและอัตราส่วน และแบบรูป โดยใช้โปรแกรม Liveworksheets จำนวน 49 worksheet จำแนกเป็น แบบฝึกหัด 44 worksheet และข้อสอบ 5 worksheet 2) ผลประเมินประสิทธิผลของสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น พบว่า สื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีความสอดคล้องและความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และ 3) ผลความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น พบว่า ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา : พระราชบัญญัติพิ้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562.
เมษายน 2562.
แคทรียา ใจมูล. (2550). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยส้านยาววิทยา สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาเชียงราย เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). เชียงราย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฎเชียงราย.
จิรากร สำเร็จ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศำสตร์แบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) โดยเน้น
เทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 6 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จรินทร อุ่มไกร และ ไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดย
อาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคSTAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม –
ธันวาคม 2562.
จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะ
การพูด สนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern
Learning Development ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนพฤษภาคม 2565.
ฉัตรสุดา นิลจันทร์ และ โกมินทร์ บุญชู และ มาลินี สิงห์ลอ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค
STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้น
วันที่ 12 มกราคม 2566, จาก https://edu.kpru.ac.th/math//contents/research/9.pdf
ทศพร ดิษฐ์ศิริ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อ
เสริมสร้างสมรรถนะด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิภาพร ช่วยธานี. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้
แบบ Active Learning โดยใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สำหรับอาจารย์ผู้สอน
ในระดับอุดมศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อ.สิเกา จ.ตรัง.
นิภาพร ช่วยธานี. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้
แบบ Active Learning โดยใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สำหรับอาจารย์ผู้สอน
ในระดับอุดมศึกษา. สืบค้น วันที่ 12 มกราคม 2566, จาก
https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/4153
นูรีดา เจ๊ะโซ๊ะ. (2560). การพัฒนาความเข้าใจแนวคิด เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
โดยใช้แนว ทางการเรียนรู้เชิงรุก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
คณะ วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ปิยะภรณ์ สาริบูรณ์. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้โดย
วิธีปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพฑูรย์ มะณู. (2566). สื่อดิจิทัล. สืบค้น วันที่ 12 มกราคม 2566, จาก
http://paitoon.esdc.go.th/sux-dicithal
ภคพล เจรนาเทพ. (2565). เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล. THAIMOOC. OCTOBER 3, 2022.
ยุรพงษ์ ฉัตรศุภสิริ. (2553). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบปกติ.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุกัญญา แย้มกลีบ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี
เมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน
และร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
พิบูลสงคราม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ราชกิจจานุเบกษา :
พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560. 24 มกราคม 2560.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และ
ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อัญญาณี สุมน และอุทิศ บำรุงชีพ. (2560). วิถีแห่งการคิดทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อการเรียนรู้เชิงรุกเป็นกระบวนการ ที่พัฒนาทักษะการคิดทางด้านคณิตศาสตร์ เพิ่ม
ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของการศึกษาไทย 4.0. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม ปีที่ 13 ฉบับที่ 2. สืบค้น วันที่ 12 มกราคม 2566, จากhttps://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/social/article/view/5114.
ฐิติพร เสาสมภพ. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการ Gpas 5
Steps บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่องการประดิษฐ์
กระถางจากเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนแท่น สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. สืบค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2566 จาก
https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=188743&bcat_id=16 .
Bonwell, C. C., and J. A. Eison. (1991). Active learning: Creating excitement in
the classroom (Online). shorturl.at/clmnG, May 14, 2019.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice.
nd ed. Massachsetts : a A Simom & Schuster.
Heinich, R.. (1996). Instructional Media and Technologies for Learning.
University of California : Merrill.
A.J. Romiszowski, (1992). Computer Mediated Communication: A Selected
Bibliography. Educational Technology.