ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

Main Article Content

จักรกฤษณ์ โพดาพล
พระมหาจักรพล สิริธโร
พิมพ์อร สดเอี่ยม
บุญช่วย ศิริเกษ
ชิษณพงศ์ ศรจันทร์
กรรณิกา ไวโสภา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง (2) ตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร วิจัยสำรวจ การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสนทนากลุ่ม และการตรวจสอบร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นบุคลากร
          ผลการวิจัยพบว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ประกอบด้วย ทิศทางขององค์กร ที่ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และการนำสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 1. ทิศทางขององค์กร ที่ประกอบด้วย วิสัยทัศน์: วิทยาเขตศรีล้านช้างมุ่งสู่ความเป็นสถาบันที่เลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาปัญญาและคุณธรรมในภูมิภาค พันธกิจ: 1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้วิชาการทั้งทางโลกและทางธรรม ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของวิทยาเขต และเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษามากขึ้น 2. สร้างสรรค์งานวิจัยทางพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการนำผลการวิจัยไปพัฒนาและแก้ปัญหาสถาบันสงฆ์และสังคม 3. บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่ท้องถิ่น โดยใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาสังคมและในการดำเนินชีวิตประจำวันแก่ประชาชน ชุมชน และสังคม 4. ส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสานประเพณี และสร้างมาตรฐานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้วิทยาเขตเป็นศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม และสร้างมาตรฐานแก่ชุมชนและท้องถิ่น 5. การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพที่เน้นคุณธรรมและความโปร่งใส ก้าวสู่ Digital University วัตถุประสงค์: 1. ผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดี มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวทางพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มีความเป็นผู้นำและสร้างสังคมไทยให้เป็น “สังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท” 2. พัฒนาองค์ความรู้ ผลิตผลงานวิจัย และวิชาการ สร้างสรรค์นวัตกรรม บูรณาการศิลปวัฒนธรรมเพื่อนำพาสังคมด้วยองค์ความรู้บนวิถีธรรมตามศาสตร์สาขาของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกในที่สุด 3. เผยแผ่ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ด้านพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ให้แก่พลเมืองโลก สืบสาน ส่งต่อ โดยศาสนทายาท ที่เข้มแข็ง แตกฉานในพระธรรมขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ดำรงทรงไว้ในฐานะสมบัติที่ล้ำค่าของโลก 4. บริการวิชาการ บริการสังคม ด้วยสรรพกำลัง และทุกองคาพยพของพระพุทธศาสนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เจริญวัฒนาสถาพร เป็นประจักษ์ชัดเจนต่อสังคมไทยและสังคมโลก และ 5. สร้างพลวัตในการพัฒนามหาวิทยาลัยและเครือข่ายภาคีพุทธฯ ให้มีโครงสร้าง ระบบ และกระบวนการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ เน้นการควบคุมกระบวนการสำคัญสู่ผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุ้มค่า และสมประโยชน์ 2. การนำสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 วิถีแห่งการพัฒนา 18 มรรคา 9 ด้านการพัฒนา 27 เป้าหมาย 38 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2564. (2564, 25 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนที่ 21 ก.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2563). รายงานประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม: สาละพิมพการ.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2553). นโยบายและการวิจัยเชิงนโยบาย. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1 (2), 32 – 42.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2563ก). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2564 – 2568). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พร้อมพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

GUSKEY, T. R. (2000). Evaluating Professional Development. Thousand Oaks, CA, Corwin Press.