การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 (2) ศึกษาผลการดำเนินงานพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย และ (3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 1 วงจร 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการเตรียมการ 2) ขั้นการวางแผน 3) ขั้นการปฏิบัติการ 4) ขั้นการสังเกตการณ์ 5) ขั้นการสะท้อนผล และ 6) ขั้นการสรุปผล ใช้เทคนิคแบบผสมผสาน ทั้งเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 1) การประเมินสภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 จากบุคลากรของโรงเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดเลย ทั้ง 15 โรงเรียน จำนวน 189 รูป/คน 2) การประเมินหลักสูตรฉบับร่าง โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ จำนวน 6 ท่าน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 นักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตจังหวัดเลย จำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดเลย จำนวน 162 รูป สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์ และการสีงเกต ดำเนินการในพื้นที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมศรีจันทร์วิทยา อำเภอเมืองเลย และโรงเรียนธรรมนิเทศวิทยา อำเภอเอราวัณ โดยมีผู้ร่วมวิจัยหลักเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายในโรงเรียน ชุมชน รวมทั้งสิ้น 33 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบตรวจสอบ หรือบันทึก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสัมภาษณ์กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย” ในครั้งนี้ เป็นความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมมือกันปฏิบัติตามหลักการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 1 วงจร 6 ขั้นตอน ที่ได้นำเอาหลักการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory learning approach) มาใช้เป็นตัวสอดแทรกเสริมในการลงมือปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ต่อยอดความรู้ใหม่ดังกล่าวจนได้ซึ่งองค์ความรู้ใหม่ที่ได้ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันตั้งชื่อว่า “Phrapariyattidhamma Loei Model” (2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรของกลุ่มทดลอง โรงเรียนธรรมนิเทศก์วิทยาในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยหลังการทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ (3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย พบว่า กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน สามารถเรียงลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุดได้ดังนี้ ด้านปัจจัยนำเข้าการจัดกิจกรรม ด้านผลลัพธ์โครงการ ด้านคุณภาพตามวัตถุประสงค์ ด้านบริบทของโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการจัดกิจกรรม
Article Details
References
จักรกฤษณ โพดาพล และคณะ. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาตามแนวคิดการศึกษา 4.0 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีลานชาง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 18 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ โพดาพล และคณะ. (2561). รูปแบบการใช้ฉันทะจากหลักธรรมอิทธิบาท 4 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเลย. รายงานการ
วิจัย. นครปฐม: สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ธนพัฒน์ อินทวี. (2563). ปัจจัยสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนแบบ Active Learning ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 4 (3), 383 – 394.
พรชัย เจดามาน. (2559). บทความสมรรถนะแห่งตน: การพัฒนาตนเองของบุคลากรการศึกษาที่ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา: http://personnel.obec.go.th/home/wp-content/uploads/2016/05.pdf?module= upload _config%22.
พระจักรพล สิริธโร. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนศรีจันทร์วิทยา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ ศษ.ด. การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาวีรกุล อคฺควํโส (คำจันทราช). (2562). การบริหารสถานศึกษายุค 4.0 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. พุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมษ ทรงอาจ. (2558). รูปแบบการเรียนการสอน รายวิชาจิตวิทยาสาหรับครู (200 204) โดยใช้การสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จํากัด.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พุทธศักราช 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). แนวทางการจัดการเรียนรู ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิสิทธิ์ บุญยา. (2553). การมีสวนร่วมของชุมชนในโรงเรียนดีเดนขนาดเล็ก: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วิทยานิพนธ ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแกน