พฤติกรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง ในประชากรวัยผู้ใหญ่ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงประชากรวัยผู้ใหญ่ อายุ 18-29 ปี ในพื้นที่สถานบริการเครือข่ายโรงพยาบาลปทุมธานี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มย่อย กลุ่มละ 9 คน จำนวน 2 กลุ่ม จากกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข และประชากรวัยผู้ใหญ่ อายุ 18-29 ปี ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงของประชากรวัยผู้ใหญ่ อายุ 18-29 ปี พบว่า การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงมาจากแหล่งเครื่องปรุงรสโซเดียม ได้แก่ น้ำปลา เกลือ ผงปรุงรส ซอสปรุงรส เป็นต้น ซึ่งประเมินได้จากพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงโซเดียมขณะประกอบอาหาร พฤติกรรมการเติมเพิ่มในอาหารจานเดียวหรืออาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว พฤติกรรมการรับประทานน้ำจิ้ม/น้ำพริก และพฤติกรรมการรับประทานน้ำซุบ/น้ำแกง รวมถึงการบริโภคอาหารโซเดียมสูงจากแหล่งอาหารแปรรูปและการถนอมอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น และพบว่าการมีพฤติกรรมดังกล่าว มาจากปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรม ที่เป็นปัจจัยภายในตัวบุคคล ได้แก่ ความจำเป็นหรือไม่จำเป็นที่จะลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง การกระทำตามบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนที่เกี่ยวกับการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง และการรับรู้ว่าการลดบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงเป็นเรื่องยุ่งยาก การวิจัยครั้งนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงในประชากรวัยผู้ใหญ่ ที่คำนึงถึงปัจจัยเชิงสาเหตุทั้ง 3 ประการดังกล่าว เพื่อให้ประชากรวัยผู้ใหญ่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และลดอัตราป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป
Article Details
References
กองโภชนาการ. (2552). รายงานการสำรวจปริมาณการบริโภคโซดียมคลอไรด์ของประชากรไทย. นนทบุรี:กองโภชนาการ. แหล่งที่มา: http://nutrition.anamai.moph.go.th/ download/article/article_ 20160323133823.pdf
จิราวรรณ กุมขุนทศ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมจำกัดเกลือโซเดียม ของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. แหล่งที่มา: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/ view/53876
เนตรนภิส วัฒนสุชาติ. (2562). โครงการ เรื่อง การศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี (Street foods) ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560. แหล่งที่มา: https://www. lowsaltthai.com/uploads/6234/files/Research20(Street%20foods).pdf
มโน มณีฉายและคณะ. (2565). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร ในผู้ป่วยโรคความดัน
โลหิตสูง ที่มีภาวะโรคไตเรื้อรังระดับ 3อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4. 12 (2), 22-34.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ. (2555) ลดโซเดียม ยืดชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. (2556). ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลไตวาย. แหล่งที่มา: http://www. nephrothai. org/wp-content/uploads
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2561). กินเค็มน้อยลงสักนิดพิชิตโรคความดัน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จํากัด
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behaviors. Organizational Behavior and HumanDecision Process, 50, 179-211.
Farquhar WB, Edwards DG, Jurkovitz CT, Weintraub WS. (2015). Dietary sodium and health: morethan just blood pressure. J Am Coll Cardiol; 65(10): 1042-50.
Jing Zhang. (2016). Salt intake belief, knowledge, and behavior: a cross-sectional study of older rural Chinese adults. from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27495056/
Lee Zhan Yue et al. (2021). Efforts on Reducing Dietary Salt Intake and its Associated Factors Among Medical Students in Universiti Putra Malaysia from: https://medic. upm. edu.my/upload/dokumen/2020123014420512_MJMHS_0455.pdf
Masayuki Okuda et al. (2017). Placing Salt/Soy Sauce at Dining Tables and Out-Of-Home Behavior Are Related to Urinary Sodium Excretion in Japanese Secondary School Students from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5748741/
Radhouene Doggui. (2020). Unbalanced intakes of sodium and potassium among Tunisian adults: A cross-sectional study from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33841839/
World Health Organization. (2013). Global action plan for the prevention and control of non-
Communicable diseases 2013-2020 [Internet]. [cited 2013 May 22]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/94384/9789241506236_eng.pdf?sequence=1
World Health Organization. (2012). Guideline: Sodium intake for adults and children. Geneva,
World Health Organization (WHO), Available from: https://iris.who.int/bitstream/ handle/10665/77985/9789241504836_eng.pdf?sequence=1
World Health Organization. (2018). Noncommunicable diseases country profiles. Geneva: World Health Organization. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/ 10665/ 274512