การสร้างสรรค์บทเพลง “สานไท”

Main Article Content

วราภรณ์ เชิดชู
เดชา ศรีคงเมือง
รุ่งนภา ฉิมพุฒ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์ทางดนตรีและศิลปะการแสดงจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือตอนล่าง เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของท้องถิ่นสู่ระดับสากล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และกระบวนการทางการวิจัยสร้างสรรค์ทางดนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมทางดนตรีจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจากวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือตอนล่าง ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในภาคเหนือตอนล่าง แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ วัฒนธรรมการเคารพบูชาพระพุทธเจ้า วัฒนธรรมความเชื่อเรื่องการไหว้ผีและบรรพบุรุษ วัฒนธรรมความบันเทิงและการละเล่น วัฒนธรรมด้านอาหาร และวัฒนธรรมด้านเครื่องแต่งกาย จึงเป็นฐานอัตลักษณ์ที่นำมาสู่การสร้างรรค์ผลงานเพลงสานไท จำนวน 7 บทเพลง ประกอบด้วย ไทยวนล่องน่าน ไทพวนนางกวัก ไทดำน่ามักน่าแปง ลาวเวียงเรียงรันจังหัน ไทหล่มขนมเส้น ไทครั่งลีลาลายซิ่น และไทใหญ่แล้อุ๊ปั๊ดตะก่า โดยกำหนดโครงสร้างทำนองออกเป็น 3 ส่วน คือ ทำนองเกริ่น เนื้อทำนอง และทำนองลงท้าย และใช้กลุ่มเสียง Pentatonic ประกอบกับการใช้เครื่องทำนองและจังหวะในสำเนียงฐานรากของกลุ่มชาติพันธุ์ อันเป็นภาพสะท้อนอัตลักษณ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิชิต ชัยเสรี. (2566). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภูมิพัฒน์ เชติยานนท์. (2546) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์แห่งลุ่มทะเลสาบรัฐฉาน "ยองห้วย-อินเล" . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.

น. ณ ปากน้ำ. (2532). ความเข้าใจในศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2555). ทฤษฎีชาติพันธุ์สัมพันธุ์ : รวมบทความทางทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ การจัดองค์กรความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ และรัฐประชาชาติ. เชียงใหม่ : ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อัญชลี วงศ์วัฒนา, การสื่อสารส่วนบุคคล, 23 พฤษภาคม 2565.

อัญชลี วงศ์วัฒนา, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 พฤษภาคม 2565.