ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนตามแนวคิด นวัตกรพลิกผัน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน โดยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 333 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน โดยภาพรวม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified=0.315) โดย องค์ประกอบปรัชญาองค์กร มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified=0.334) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวัฒนธรรมองค์กร มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified=0.354) รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำร่วม (PNImodified=0.344) และด้านความผูกพันต่อองค์กร (PNImodified=0.302) ตามลำดับ รองลงมา คือ องค์ประกอบสิ่งมีชีวิต (PNImodified=0.319) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผู้เรียน มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified=0.366) รองลงมา คือ ด้านครู (PNImodified=0.326) และด้านผู้บริหารโรงเรียน (PNImodified=0.262) ตามลำดับ และองค์ประกอบสิ่งไม่มีชีวิต (PNImodified=0.303) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตร มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified=0.368) รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างองค์กร (PNImodified=0.284) และด้านทรัพยากรการเรียนรู้ (PNImodified=0.259) ตามลำดับ
Article Details
References
สุกัญญา แช่มช้อย. (2563). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสร้างนวัตกร.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2),193-213.
สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล. (2565). ระบบนิเวศนวัตกรรมในโรงเรียนที่มุ่งพัฒนานักเรียนนวัตกร.วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (64), 147-159.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนปฏิบัติกำรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Barrett, P., Treves, A., Shmis, T., Ambasz, D. & Ustinova, M. (2019). The impact of school infrastructure on learning: A synthesis of the evidence. World Bank.
Bhatnagar, J. (2012).Management of innovation: role of psychological empowerment, work engagement and turnover intention in the Indian context. The International Journal of Human Resource Management. 23 (5), 928–951.
Bush,T. & Bell, L. (2009). The principle and Practice of Educational Management. London : SAGE Publications.
Couros, G. (2014). 8 Characteristics of the innovator’s mindset. Online. Retrieved May 12, 2023. from : https:geogEcouros.ca/blog/archives/4738.
Hecht,M. & Crowley, K. (2019).Unpacking the Learning Ecosystem Framework : Lesson from the Adaptive Management of Biological Ecosystem. Journal of the Leaning Science. 20 (4),1-21.
Dyer, J. H., Gregersen, H. B. & Christensen, C. M. (2019). The innovator's DNA: Mastering the five skills of disruptive innovators. Massachusetts : Harvard Business Review Press.
Greenberg, D., McKone-Sweet, K. & Wilson H. J. (2011). The new Entrepreneurial Leader: Developing leaders who shape social and economic opportunity. California : Tomson Press India Ltd.
Gütl, C. & Chang V. (2014).Ecosystem-based Theoretical Models for Learning in Environments of the 21st Century.International Journal of Emerging Technologies in Learning. 19 (6), 1-12.
Hess, E.D. (2018).Transforming School Education for The Smart Machine Age. Virginia : Future Frontiers.
International Institution for Management. (2023). World Competitiveness Booklet 2023. Switzerland. : wcceshop.org.
Limerick, D., Cunnington, B. & Crowther, F. (1998). Managing the New Organization: Collaboration and Sustainability in the Post Corporate World. Queensland : Business & Professional Publishing.
Luksha, P. (2017). Educational Ecosystems for Societal Transformation. Global Education : Futures Report.
Magolda, M. B. B. (2001). Making their own way: Narratives for transforming higher education to promote self-development. New York : Stylus.
Mattila, P. & Silander, P. (2015).How to create the school of future: Revolutionary thinking and design from Finland. University of Oulu : Multprint.
Radjou, N., Prabhu, J. & Ahuja, S. (2012). Jugaad Innovation : Think frugal, Be flexible, Generate breakthrough growth. San Francisco : Jossey-Bass.
Radjou, N. & Prabhu, J. C. (2014). Frugal innovation: how to do more with less. (1st ed.). New York : Public Affairs.
Robertson, B.J. (2015). Holacracy : The new management system for a rapidly changing world. New York : Henry Holt and Company,LLC.
Salim, M. S. (2014). Exponential Organizations: Why new organizations are ten times better, faster, and cheaper than yours (and what to do about it). New York : Diversion Books.
Schein, E. H. (1983).The Role of the Founder in Creating Organizational Culture. Organizational Dynamics. 12 (1),13-28.
Wagner, T. (2012). Creating Innovator: The making of young people who will change the world. New York : Simon & Schuster, Inc.