รูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ธนิษฐา สร้อยทอง
กฤษณ์ ทัพจุฬา
วริศรา บัวแดง
วันดี ยูโส้

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษารูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอุปมานวิเคราะห์และการตีความ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบขั้นตอน
          ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มากที่สุดคือ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบความสุขของผู้สูงอายุ พบว่าด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (β = 0.141) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (β = 0.135) และด้านสิ่งแวดล้อม (β = 0.129) โดยสมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 89 และ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครอบครัว ชุมชน พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นหน่วยงานหลักเพื่อพัฒนาระบบการสาธารณสุขให้มีทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพ และศักยภาพที่ดีเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีสถานที่รักษาพยาบาลที่ดี เข้าถึงยาเวชภัณฑ์ ได้เข้ารับการรักษาที่ดีและเหมาะสมทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจที่ดีและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

ณัฐธิดา จุมปา และ เพ็ญพักตร์ ไชยนุรักษ์. (2561). สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและปลอดภัยเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างความเสมอภาคใน สังคม: กรณีศึกษาชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย. Veridian E Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ.11 (3), 1508-1509.

ดวงกมล ภูนวล, พัชรินทร์ สิรสุนทร, เสรี พงศ์พิศ และ ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย. Journal of Health Education. 37 (126), 82-101.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 13 (25), 103-118.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมชุมชนเพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7 (2), 322-335.

พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). อิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อนโยบายการเตรียมชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 5 (1), 432-445.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 10) .นนทบุรี: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผูสูงอายุไทย. (2562). สถานการณผูสูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่ จํากัด.

โมรยา วิเศษศรี และคณะ. (2563). ประสิทธิภาพการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (9), 79-94.

ศุภชัย ชัยจันทร์และณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์ (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15 (2), 71-83.

สัญชัย ห่วงกิจ. (2561). การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในพื้นที่ เขต13 กรุงเทพมหานคร. วารสารคุรุศาสตร์. 15 (ฉบับพิเศษ), 214-232.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.