การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์บึงบอระเพ็ดเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สายธาร มั่นยุติธรรม
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างและประเมินคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์บึงบอระเพ็ด เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ทดลองใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์บึงบอระเพ็ด โดยเปรียบเทียบ การรู้สิ่งแวดล้อมก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์ บึงบอระเพ็ด เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียน                    บึงบอระเพ็ดวิทยา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์บึงบอระเพ็ด 2) แบบทดสอบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม 3) แบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ , %, S.D. และ t-test  
          ผลการวิจัยพบว่า 1. หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ เรื่อง อนุรักษ์บึงบอระเพ็ด เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผังมโนทัศน์ 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ 3) สมรรถนะหลัก 4) สมรรถนะเฉพาะ 5) จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ  6) หลักฐานการเรียนรู้ 7) สาระการเรียนรู้ 8) สถานการณ์ที่ใช้ประเมินสมรรถนะ 9) กิจกรรมการเรียนรู้ และ 10) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.51) และผลการศึกษานำร่องหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ พบว่า หน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีการรู้สิ่งแวดล้อมหลังเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้บูรณาการฐานสมรรถนะ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และสุพรทิพย์ ธนภัทนโชติวัติ. (2564) การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23 (3), 395-410.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การจัดการเรียนรู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: เอ็มดี ออล กราฟิก.

ทิศนา แขมมณี. (2565). หลักสูตรฐานสมรรถนะกับบทบาทของศึกษานิเทศก์แนวใหม่. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://docs.google.com/a/hisupervisory5.net/viewer?a= v& pid=sites&srcid=aGktc3VwZXJ2aXNvcnk1Lm5ldHxucHQyfGd4OjM3 OWRlZWI2ZjdjMGM4ZjA.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

บังอร เสรีรัตน์. (2565). ครูกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14 (1), 1-11.

พงศ์กรณ์ พันธุ์โยศรี. (2558). ผลการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมที่มีผลต่อ ความสามารถในการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะ ครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มารุต พัฒผล. (2553). หน่วยการเรียนรู้บูรณาการอิงมาตรฐาน และการประเมินผลระดับชั้นเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ม.ป.พ.

สุภัตรา ไชยเชษฐ์ และสิรินาถ จงกลกลาง. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง อันตรายใกล้ตัว และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 12 (2), 252-253.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก : ถอดบทเรียนการปฏิบัติ. โรงเรียนสุจิปุลิ จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพมหานคร: สกศ.

D.C Environmental literacy plan workgroup. (2012).DC Environmental Literacy Plan Integrating Environmental Education into the K-12 Curriculum. District Department of the Environment. USA.

Murphy, T. P., & Olsen, A.M. (2008). The third Minnesota report card on environmental literacy : A survey of adult environmental knowledge, attitudes and behaviour. Polution control agency.