การพัฒนาหลักสูตรการอบรมพระสงฆ์ด้านการให้คำปรึกษาแนวคิดพุทธจิตวิทยา

Main Article Content

ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์
บุษบากร สุวรรณเกษา
เป็นปลื้ม เชยชม

บทคัดย่อ

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดที่ผ่านมา พระสงฆ์ได้พบปัญหาจากการเข้ามาปรึกษาปัญหาชีวิต ทั้งจากชีวิตส่วนตัวด้านตนเอง ครอบครัว บุตรหลาน หรือเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมากขึ้น แต่พระสงฆ์ไม่สามารถมีเครื่องมือในการสื่อสารธรรมะไปสู่ญาติโยมแบบแยบยลได้ ดังนั้นการติดเครื่องมือที่เรียกว่า ด้านการให้คำปรึกษาแนวคิดพุทธจิตวิทยา จะเป็นการให้พระสงฆ์มีอาวุธในการสนทนากับญาติโยม บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรและทดลองใช้และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของหลักสูตรการอบรมพระสงฆ์ด้านการให้คำปรึกษาแนวคิดพุทธจิตวิทยา โดยศึกษาตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการดําเนินการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวิจัย การพัฒนา การวิจัย และการพัฒนา ผลการวิจัย คือ ผลการจัดทําหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ ความเข้าใจพื้นฐานของการให้คำปรึกษาที่เน้นทักษะการฟัง ทักษะการเปิดเผยตนเอง ทักษะในการตั้งคำถาม ทักษะที่เจาะจงของการช่วยเหลือ เช่น การเข้าใจมุมมองของผู้อื่น การแสดงความใส่ใจและสนใจฟัง การทวนสรุปและสะท้อนความรู้สึก และกระบวนการในการให้คำปรึกษาหรือขั้นตอนการให้คำปรึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ พระที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตร จํานวน 30 รูป จำนวน 4 กลุ่ม (แบ่งตามการปกครองคณะสงฆ์) รวม 120 รูป โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรการอบรมพระสงฆ์ด้านการให้คำปรึกษาแนวคิดพุทธจิตวิทยา แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสอบถามความมีเจตคติที่มีต่อการใช้หลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติ t-test (Dependent) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ทุกหนการปกครอง พระสงฆ์ มีความรู้ความเข้าใจสูงขึ้นกว่าก่อนฝึกอบรม โดยมีการพัฒนาขึ้นร้อยละ 75 ทุกเนื้อหา มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมาก และมีผลการประเมินกิจกรรมระหว่างฝึกอบรมดีมาก โดยมีความคิดเห็นว่า หลักสูตรมีประสิทธิภาพเหมาะสม หัวข้อน่าสนใจ อยากให้มีการเพิ่มเวลา โดยเฉพาะการเพิ่มเทคนิคการรับฟังให้มากขึ้น และอยากให้มีภาพหรือตัวอย่างของกระบวนการในการนำไปใช้อย่างขั้นเป็นตอนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานได้จริง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เดวิด โบห์ม. (2554). ว่าด้วยสุนทรียสนทนา = On dialogue. (แปลโดย เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2563). พุทธนววิถี (Buddhist New Normal): ระหว่างและหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

ธีรวรรณ ธีรพงษ์. (2549). ผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธที่เน้นศีลและปัญญาต่อสัมพันธภาพการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและผลต่อเนื่องของความพึงพอใจของผู้รับบริการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป พืชทองหลาง, พระบุญทรง ปุญฺญธโร และอาภากร ปัญโญ. (2561). กระบวนการและทักษะการปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยา. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา. 14 (1), 1 – 31.

ประทีป พืชทองหลาง. (2556). รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตดิวงศ์ (ทองตี สุรเตโร ป.ธ.9, ราชบัณทิต). (2541). พระสงฆ์กับกรมการศาสนา. ในกรมการศาสนาสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). สู่การศึกษาแนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2566). คุณธรรมกับโลกยุคโกลาหล (MORAL WITH THE AGE OF CHAOS) รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).

สุภาพร ประดับสมุทร. (2552). การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาภรณ์ สุขารมณ์. (2559). Resilience Quotient: RQ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (1), 209–220.

Issacs, T., Zara, C. and Herbert, G. with Coombs, S. and Smith, C. (2013). Key concept in educational assessment. Thousand Oaks. CA: SAGE

John W. Best. (1981). Research in Education. 4 th ed. New Jersey: Prentice – Hall Inc..

Marquardt M.J. (2002). Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. Palo Alto: Davies-Black.