การพัฒนาระบบฐานข้อมูลติดตามการจัดเก็บ และทวนสอบข้อมูลทุเรียน ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด

Main Article Content

รัฐพร กลิ่นมาลี
อนุวัฒน์ จันทสะ
ศุภชัย โชติกิจภิวาทย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาจากการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อสร้างต้นแบบระบบสารสนเทศที่สร้างภาพลักษณ์เชิงคุณภาพให้กับทุเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลติดตามการจัดเก็บและทวนสอบข้อมูลทุเรียน ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลติดตามการจัดเก็บ และทวนสอบข้อมูลทุเรียนด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จํานวน 5 คน และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหมอนทองรุ่นใหม่ ในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูล และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบฐานข้อมูล ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล หลังจากนั้นจึงดำเนินการพัฒนาระบบและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นระบบที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ทำงานได้ถูกต้อง เข้าใช้งานได้สะดวก มีความปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงมีคู่มือการใช้งานถูกต้องเหมาะสมเข้าใจง่าย และ2) ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล มีความพึงพอใจต่อการใช้งานในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ใช้เห็นว่าระบบฐานข้อมูลมีความสวยงามและน่าสนใจ มีรูปแบบรายงานข้อมูลที่เหมาะสม เข้าถึงระบบได้ง่าย แสดงให้เห็นว่าระบบฐานข้อมูลนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อการใช้งาน มีความเป็นมาตรฐาน และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). โอกาสสินค้าเกษตรไทยสู่ประชาคมอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th /assets/portals/1/files /ebook/Thailandto ASEAN.pdf.

ขวัญจุฑา คำบรรลือ, วิวัฒน์ มีสุวรรณ, และ พิชญาภา ยวงสร้อย. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรม การเรียนรู้ สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (1), 184-193.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานประจำปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://dl.parliament.go.th

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ อาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). มาตรฐานสินค้าการเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.acfs.go.th.

สมพล สุขเจริญพงษ์ และเดช ธรรมศิริ. (2562). การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโดยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ และบรรจุภัณฑ์การค้าปลีกสำหรับส้มโอในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 5 (1), 67-78.

อนุวัฒน์ จันทสะ, รัฐพร กลิ่นมาลี และ ศุภชัย โชติกิจภิวาทย์. (2566). การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลติดตามการจัดเก็บ และทวนสอบข้อมูลทุเรียนด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

อนุวัฒน์ ใจดี และพุธษดี ศิริแสงตระกูล. (2557). ระบบติดตามและตรวจสอบย้อนกลับก้อนเชื้อเห็ด.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น