การออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

ไอรดา สุดสังข์
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องการออกแบบอัตลักษณ์ ผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาและรวมรวมข้อมูลผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ จำนวน 5 คน และประธานกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่ม ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม
          ผลการวิจัย พบว่า 1)การศึกษาและรวมรวมข้อมูลผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มีลายผ้ามัดหมี่ จำนวนทั้งสิ้น 23 ลาย แบ่งตามลักษณะของลายผ้าที่ได้จากลายธรรมชาติ จำนวน 11 ลาย ลายของใช้ จำนวน 9 ลาย ลายศาสนา จำนวน 6 ลาย และลายประดิษฐ์ จำนวน 3 ลาย 2) การออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร  พบว่า จากการออกแบบลายผ้าได้มีลายแม่แบบ จำนวน 6 ลาย ประกอบด้วยลายกระต่าย ลายใบไผ่ ลายปลาตะพาก ลายดอกพิกุล ลายวัดไตรภูมิ และลายเห็ดโคน นำมาออกแบบโดยใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมด้านเท่า (Triaxial blend) มีจำนวนทั้งสิ้น 120 ลาย      3) การศึกษาความพึงพอใจในลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ บ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า จากลายจำนวนทั้งสิ้น 120 ลาย ทำการคัดเลือกโดยผู้เชี่ยวชาญเหลือ 5 ลาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยลายพฤกษ์ศาศะ มีคะแนนความพึงพอใจสูงที่สุด  รองลงมา คือ ลายมัจฉาศาศะ ลายมัสยาพฤกษ์ ลายรุกษ์ศาศะ  และลายศาศะทอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, 4.38, 4.29, 4.23และ4.08 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2555). ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลชาติ ดีเจริญ. (2559). ลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ (2556). การออกแบบลายผ้ามัดหมี่ต้นแบบจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมจัวหวัดสระแก้ว. เอกสารรายงานวิจัยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม. มปป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คมลักษณ์ ไชยยะ. (2562). พื้นฐานแนวคิดสัญวิทยากของโรล็องด์ บาร์ตส์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 37-38.

เธียรชัย อิศรเดช. (2552). อัตลักษณ์กับสื่อ ตัวตนกับการสื่อสาร. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์. 13 (1), 25-30.

นิพพิชฌน์ นิมิตบรรณสาร. (2557). ผ้าไหมมัดหมี่ชัยภูมิ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เมธ์วดี พยัมประโคน. (2559, พฤศจิกายน). การออกแบบและพัฒนาลายผ้ามัดหมี่ในจังหวัดสุรินทร์ สำหรับสตรีวันทำงาน. วารสารรมยสาร 14 (พิเศษ), 158-162.

สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดกำแพงเพชร(พ.ศ.2561-2564). กำแพงเพชร: สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร.

สินีนาฎ รามฤทธิ์. (2562). การพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าไหมบุรีรัมย์สู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม, สิริพร กันสุข และ อรรถพล ศรีขุนด่าน (2561). กรณีศึกษากลุ่มทอผ้าบ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. เอกสารรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5. มปป. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

องค์การบริหารส่วน ตำบลห้วยยั้ง. (2561). กลุ่มทอผ้าบ้านลานไผ่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.huayyangkp.go.th/content/40.