เศรษฐกิจสีเขียวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

Main Article Content

พีรดาว หมัดอ่าดัม
เพ็ญศรี ฉิรินัง
วรเดช จันทรศร
วิพร เกตุแก้ว

บทคัดย่อ

           แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้สามารถบรรลุผลตามเป้าหมาย ได้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจสีเขียวตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 รูปแบบควบคู่กัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว นโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
           บทความฉบับนี้จะกล่าวถึงเศรษฐกิจสีเขียวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Thailand 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยการนำเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงมิติสิ่งแวดล้อมผ่านขอบเขต 2 ด้าน คือ 1) ด้านการบริโภคที่ยั่งยืน ได้แก่ การมีผลิตภัณฑ์ โครงสร้างที่เกื้อหนุน และระบบบริการ 2) ด้านการผลิตที่ยั่งยืน ได้แก่ การใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการควบคุมมลพิษในการผลิต โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ “BCG Model” ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ที่มุ่งเน้นการเติบโตเชิงคุณภาพสร้างความสมดุล 3 ด้าน คือ 1) เศรษฐกิจเน้นการสร้างมูลค่า (Value-based Economy) 2) การเติบโตที่เน้นการมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) และ 3) สังคมที่มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากร (Circular Society) โดยการบูรณาการและส่งต่อยุทศาสตร์การพัฒนาไปยังท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลต่อการสร้างรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเลื่อมล้ำในสังคม ลดความเสี่ยงปัญหาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูระบบนิเวศของท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570. กรุงเทพมหานคร.

ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). เศรษฐกิจสีเขียวในชุมชนท้องถิ่นไทย: ศึกษาชุมชน

ท้องถิ่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา. 3 (2), 85-102.

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. (2564). การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ภายใน 7 ปี (พ.ศ. 2564-2570). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : https://www.tei.or.th/th/highlight_detail.php?event_id=1270

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2562). เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. (2555). จับกระแส Rio+20 สู่สังคมไทย.กรุงเทพมหานคร: ทีคิวพี.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2564). กำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษ ทำเนียบรัฐบาล.

สำนักงานสภาพัฒเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). การศึกษาเศรษฐกิจสีเขียวในบริบทภาคการเกษตร. เอกสารการศึกษาของสำานักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Green Growth Best Practice Initiative (GGBP). (2014). Green Growth in Practice: Lessons from

Country Experiences. Seoul: Global Green Growth Institute (GGGI).

United Nations. (2012). A Guidebook to the Green Economy.