รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยการฝึกอบรม จากการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมรายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชัน ของสารอินทรีย์ด้วยโปรแกรมยูนิตีทรีดีร่วมกับโปรแกรมวูโฟเรีย

Main Article Content

พีรพงศ์ บุญฤกษ์
กรรณิกา เงินบุตรโคตร
นุสรา มูหะหมัด

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมรายวิชาเคมีเรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยโครงการฝึกอบรม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์ด้วยการฝึกอบรมจากการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมรายวิชาเคมี เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ ด้วยโปรแกรมยูนิตีทรีดีร่วมกับโปรแกรมวูโฟเรีย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชัน CHEM AR แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสาร และคำถามในการสนทนากลุ่ม กลุ่มที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน  ศึกษาคุณภาพของรูปแบบฯ ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพ E1/E2 ของสื่อความเป็นจริงเสริม เรื่อง หมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์มีค่าเท่ากับ 90.28/81.60 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด 80/80 2) สมรรถนะการสื่อสารของครูวิทยาศาสตร์หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการสื่อการวิทยาศาสตร์ของครูวิทยาศาสตร์ในโครงการนี้ ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ และด้านปฏิบัติการ และผลจากการสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ มีความคิดเห็นว่ารูปแบบมีคุณภาพและเหมาะสมที่จะนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hoffer, A., George, F.J., & Valacich, S.T. (n.d.). Modern system analysis and design: Benjamin Cummings Publishing Company, Inc.

กรรณิกา เงินบุตรโคตร, พีรพงศ์ บุญฤกษ์ และนุสรา มูหะหมัด. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริมเรื่องหมู่ฟังก์ชันของสารอินทรีย์ด้วยโปรแกรม SketchUp และ Pixlive Maker. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 441-453.

กฤติน พันธุ์เสนา และเผชิญ กิจระการ. (2564). โมเดลการฝึกอบรมแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 105-115.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). “AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง” สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2566 เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/article-technology/item/7755-ar-augmented-reality

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, อรอนงค์ พงษ์กลาง, มธุรส สกุลทอง, ปวันรัตน์ ทรงนวน และพัทธกฤษฏิ์

สมจิตพันธโชติ อนุรุทธ์หรรษานนท์. (2023). ความพึงพอใจต่อสื่อการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะบน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองขวาง จังหวัดตราด. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 26-38.

ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล (2564). Education 2030 - อนาคตการศึกษาในอีก 10 ปีข้างหน้า. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564. https://www.disruptignite.com/blog/education2030

ดวงใจ สีเขียว, ลัดดา หวังภาษิต และสุมาลี เชื้อชัย. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับครูประถมศึกษาในการเสริมสร้างสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(1), 223-247.

พรทิพย์ เกิดถาวร. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูสู่ศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 1347-1356.

พีระศักดิ์ กิ่งพุ่ม และไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2566). การพัฒนารูปแบบการสอนบนเว็บ ด้วยวิธี STEM Education เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ในสถาบันการ

พลศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(1), 1-15.

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนการออกแบบนวัตกรรม สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคตะวันออก. วารสารครุพิบูล, 9(2), 197-212.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4),

p 1-15.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). สมรรถนะการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการสื่อสาร/