ความเข้าใจในพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของทนายความไทย

Main Article Content

วชิรพล วิศวจรรยา
ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี
อรทัย เขียวพุ่ม

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ของทนายความ
และการใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอาญา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีการแจกแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในหัวข้อความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ให้กับกลุ่มตัวอย่าง ทนายความที่ได้รับใบอนุญาตว่าความประเภทตลอดชีพจากสภาทนายความทั่วประเทศจำนวน 398 คนที่เข้ารับการอบรมที่สภาทนายความ  การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรส่วนบุคคลกับคะแนนระดับความรู้ทางด้าน
นิติวิทยาศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์การทดสอบไคสแควร์ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยระดับความรู้ความเข้าใจด้านนิติวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง และจากการวิเคราะห์ค่าไคสแควร์พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับอายุและประสบการณ์ในการทำงาน (p-value < 0.05) ในขณะที่ เพศ ระดับการศึกษา สถานที่ในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความรู้ความเข้าใจด้านนิติวิทยาศาสตร์ ประการสุดท้าย ข้อค้นพบจากการศึกษานี้อาจมีนัยสำคัญต่อสภาทนายความที่วางแผนขยายโครงการฝึกอบรมหลักสูตรเรื่องพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chubthaisong, W. & Jarujittipant, P. (2017). Factors Affecting to the Competency of Professional Lawyer. Journal of MCU Peace Studies, 5(3), 404-417. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/download/97323/86897/283780

Garrett, B. L., Gardner, B. O., Murphy, E., & Grimes, P. (2021). Judges and forensic science education: A national survey. Forensic science international, 321, 110714. https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2021.110714

Kaplan, J., Ling, S., & Cuellar, M. (2020). Public beliefs about the accuracy and importance of forensic evidence in the United States. Science & justice : journal of the Forensic Science Society, 60(3), 263–272. https://doi.org/10.1016/j.scijus.2020.01.001Paipuk, S. (2016). Legal issues regarding the development of effective criminal lawyers in subduing the country. [Master’s thesis, North Bangkok University]. http://www.northbkk.ac.th/research_/themes

/downloads/abstract/1503401962_abstract.pdf

PPTV Online. (2021). ทนายตั้มข้องใจใช้ซินโครตรอนตรวจ DNA เส้นผม. https://www. pptvhd36. com/news/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/149005

Promwikorn, W., Suwannarangsri, S., Ammawat, K., Buchitchon, S., & Meeboonsalang, N. (2018). Credibility of Forensic Evidence: Challenges, Causes and Solutions for Thailand. Journal of Southern Technology, 12 (2), 168-180.

Ribeiro, G., Tangen, J. M., & McKimmie, B. M. (2019). Beliefs about error rates and human judgment in forensic science. Forensic science international, 297, 138–147. https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2019.01.034

Sukwiboon, N. (2017). Deverlopment Model of Effective Public Defenders of the Lawyers Council of Thailand. Journal of Thai Justice System, 10 (1), 67-84. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JTJS/article/download/246836/167734/862344

Wainiphithapong, C., Laoarun, W., & Supalaknari, S. (2022). Levels of Knowledge in Forensic Evidence Collection of Inquiry Officers in Provincial Police Region 7. Journal of Criminology and Forensic Science. 8 (1), 45-61.