การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง พลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

อมรรัตน์ ปานเพชร
ธิติยา บงกชเพชร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานในการพัฒนาแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง พลังงานความร้อน และศึกษาผลการพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง พลังงานความร้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน  รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง พลังงานความร้อน แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดแบบจำลองทางความคิด แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพตัวอย่าง เรื่อง พลังงานความร้อน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่สามารถพัฒนาแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง พลังงานความร้อนได้ มีขั้นตอนดังนี้ คือ ครูนำเสนอสถานการณ์ที่เชื่อมโยงถึงพลังงานความร้อนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแบบจำลองทางความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ นักเรียนทดสอบแบบจำลองโดยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือหรือทำการทดลองเพื่อให้ได้แบบจำลองที่ถูกต้อง นักเรียนเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้กับแบบจำลองของตนเอง ปรับเปลี่ยนแบบจำลองของตนเองให้สอดคล้องกับแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและนำความรู้ที่ได้ไปให้อธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ ส่วนผลการพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการแบบจำลองทางความคิดอยู่ในกลุ่มแบบจำลองทางความคิดที่ถูกต้องมากที่สุดและแบบจำลองทางคิดที่ไม่เชื่อมโยงน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาตรี ฝ่ายคำตา และ ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน (Model-based Learning). วารสารศึกษาปริทัศน์. 29 (3), 86- 87

ณัฏฐ์ ดิษเจริญ, กรวัฒน์ พลเยี่ยม, พนิดา วังคะฮาต, และปุริม จารุรัส. (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมี ด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยงวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5 (1),21–27

ธีรตา ชาติวรรณ, ธิติยา บงกชเพชร และอนุสรณ์ วรสิงห์. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องพันธุ์โคเวเลนต์ วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิลุบล สาระ (2562) การพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง สารชีวโมเลกุลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม ChemDraw วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิสการพิมพ์

Greca, I. M. and M. A. Moreira. (2000). Mental models, conceptual Models, and modeling. International Journal of Science Education. 22 (1), 1-11.

Moutinho,S., Moura, R, & Vasconcelos, C. (2017). Contributions of model-based learning to the restructuring of graduration students’ mental models on natural hazards. EURASIA Journal of Mathematics Science and Technology Education. 13 (7),3043-3068

Neilson, D., Campbell, T. & Allred, B. (2010). Model-based inquiry in physics: A buoyant force module. The Science Teacher, 77 (8), 38-43.

Organ-Bekiroglu, F. (2007). Effect of model-based teaching on per-service physics teachers, conceptions of the moon, moon phases, and lunar phenomena. International Journal of Science Education. 29 (5), 555-593