แนวทางการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเอกชนในการดูแลผู้กระทำผิด เพื่อหันเหผู้กระทำความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเอกชน ในการจำแนก คัดกรอง การพัฒนาพฤตินิสัย การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และการติดตามหลังปล่อย รวมถึงการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ ประเด็นหลักของการวิจัย คือ เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการทำงานของเรือนจำในประเทศไทยทบทวนมาตรการ กลไกที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรเอกชนเพื่อหันเหผู้กระทำผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการวิจัยภาคสนามด้วยการออกแบบสอบถามผู้ต้องขัง การสัมภาษณ์เชิงลึก ระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม การจัดประชุมกลุ่มสนทนากลุ่ม การรับฟังความคิดเห็น รวมจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันการจำแนก คัดกรองในการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย ไม่สัมพันธ์กับการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ จำเป็นต้องสร้างกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยให้องค์กรชุมชนและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่การสืบเสาะข้อมูลชุมชนของผู้ต้องขังที่ใกล้ได้รับการปล่อยตัว ในการนำมาแยกกลุ่มอาชีพเพื่อฝึกทักษะอาชีพเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่เหมาะสมแต่ละราย และตรงกับกลุ่มอาชีพหลังการปล่อยตัวได้ ดังนั้น การสนับสนุนและส่งเสริมการฝึกอบรมการพัฒนาความรู้ เพิ่มทักษะด้านกลุ่มอาชีพที่ผ่านการวิเคราะห์ของคณะกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย โดยการแนะแนวให้คำปรึกษา จึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่งในการจำแนก การพัฒนาพฤตินิสัย เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยสู่สังคม ตามกลุ่มอาชีพที่ได้ฝึกอบรม จึงจำเป็นอย่างมากที่หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นต้องสร้างการเข้าถึงสวัสดิการและช่วยเหลือสงเคราะห์ เพื่อให้ผู้พ้นโทษและครอบครัวได้รับการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือจากหน่วยในระดับท้องถิ่น โดยคณะผู้วิจัยได้ถอดบทเรียนให้จัดตั้งในลักษณะเครือข่ายเป็นศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศูนย์คุมประพฤติภาคประชาชน เพราะเป็นหน่วยระดับในระดับชุมชน ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พ้นโทษจะเป็นผลสำเร็จได้จะต้องอาศัยความร่วมมือและการบูรณาการของทุกส่วนราชการ องค์กรชุมชน และองค์เอกชนซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับผู้พ้นโทษ ดำเนินการติดตาม ดูแลและให้ความช่วยเหลือจึงมีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้พ้นโทษ
Article Details
References
ธวัชชัย ชัยวัฒน์. (2561). มาตรการเชิงรุกในงานราชทัณฑ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีจุดเริ่มต้นงานราชทัณฑ์ตำบลขยายผลสู่การบูรณาการติดตามช่วยเหลือผู้ต้องขังหลังพ้นโทษ. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60, กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปิยะนุข เงินคล้าย และพงส์สัณฑ์ ศรีสมทรัพย์. (2559).โครงการศึกษาวิจัยการจัดตั้งองค์กรช่วยเหลือผู้พ้นโทษ. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 9 (2), 45-61.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ : คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2540). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร.
สุวิมล ติรกานันท์. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์บริหารข้อมูลตลาดแรงงานภาคเหนือ. (2562). บุคลิกภาพและทักษะทางอาชีพของผู้ใกล้พ้นโทษและความต้องการจ้างงานของนายจ้าง กรณีศึกษา : เรือนจำกลางลำปาง. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 14 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/nlmi-lp_th/6e598e6efea0fb608c0250398720d3f4.pdf
Bernburg, J. G. (2019). Labeling theory. Handbook on crime and deviance, 179-196.
Belur, J., Thornton, A.,Tompson, L., Manning, M., Sidebottom, A., & Bowers, K. (2020). A systematic review of the effectiveness of the electronic monitoring of offenders. Journal of Criminal Justice, 68, 101686. from. https://doi.org/10.1016/j.jcrimjus. 2020.101686
Crow, I. (Ed.). (2001). The treatment and rehabilitation of offenders. Sage.
Escobar, M. A., Tobón, S., & Vanegas-Arias, M. (2023). Production and persistence of criminal skills: Evidence from a high-crime context. Journal of Development Economics, 160, 102969.from. https://doi.org/10.1016/j.jdeveco.2022.102969
Forsberg, L., & Douglas, T. (2022). What is criminal rehabilitation?. Criminal law and Philosophy. 16 (1), 103-126.
Gueta, K., Chen, G., & Ronel, N. (2022). Trauma-oriented recovery framework with offenders: A necessary missing link in offenders' rehabilitation. Aggression and Violent Behavior, 63, 101678.
Matsueda, R. L. (1988). The current state of differential association theory. Crime & Delinquency. 34 (3), 277-306.