กลยุทธ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล

Main Article Content

เรือนทอง ไวทยะพานิช
วีรฉัตร์ สุปัญโญ

บทคัดย่อ

          ความฉลาดรู้ดิจิทัลมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันความเสี่ยงภัยและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ต่อการดำรงชีวิต การส่งเสริมความฉลาดรู้ดิจิทัลให้แก่ประชาชนโดยภาครัฐฝ่ายเดียวอาจจะไม่ทั่วถึง ดังนั้นชุมชนแต่ละชุมชนจึงต้องสร้างเสริมความฉลาดรู้ดิจิทัลให้สมาชิกชุมชนของตนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย การวิจัยแบบผสานวิธีในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความฉลาดรู้ดิจิทัล 2. ความต้องการความฉลาดรู้ดิจิทัลและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล และ 3. กลยุทธ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย1) กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 1,680 คน และ 2) กลุ่มผู้ร่วมเรียนรู้ในการสร้างกลยุทธ์ชุมชนจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบหลายขั้นตอนจากชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แผนการจัดเวทีชุมชน แบบบันทึกข้อมูลและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า 1.ความฉลาดรู้ดิจิทัลของชุมชนอยู่ในระดับพื้นฐาน พบปัญหาทักษะด้านเทคนิคและทักษะการตระหนักรู้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความฉลาดรู้ดิจิทัล ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีดิจิทัล สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวและสถานภาพทางสังคม 2. ความฉลาดรู้ดิจิทัลที่ชุมชนต้องการ คือ ความปลอดภัยในการใช้สมาร์ตโฟน แอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก ความต้องการของชุมชนด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล คือ ต้องการให้มีการสอนเป็นกลุ่มเล็ก ใช้กรณีศึกษา แสดงบทบาทสมมุติ มีทีมงานช่วยเหลือ และมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์เรื่องการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล และ 3.กลยุทธ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน มี 4 กลยุทธ์ประกอบกัน ได้แก่ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล 3) กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครรชิต พุทธโกษา.(2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

จันทร์ศรี สิมสินธุ์, ภูษิต บุญทองเถิง และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2559). นวัตกรรมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12 (1),1-12

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์.(2560).การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal, Silapakorn University. 10 (2),1347-1348

ปกรณ์ ปรียากร. (2558). การวางแผนกลยุทธ์ : แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม

นันทิยา หุตานุวัตร และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2545). SWOT : การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน . (พิมพ์ครั้งที่ 6). อุบลราชธานี: ฝ่ายผลิตและบริการเอกสารสถาบันวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ธิดา แซ่ชั้น และ ทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล: นิยาม องค์ประกอบ และสถานการณ์ในปัจจุบัน.วารสารสนเทศศาสตร์. 34 (4), 116-145

ดนัย ฉลาดคิดและภัทรวรรธน์ธนธร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัลบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนของผู้สูงอายุในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์. 4 (1),93

ดิษยุทธ์ บัวจูม. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วัศพล โอมพรนุวัฒน์ และ สุกัญญา แช่มช้อย.(2563).การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้เรื่องดิจิทัล.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา.15 (2),1-11

ยศ บริสุทธิ์. (2558). การศึกษาชุมชน : แนวคิดการวิจัย และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

แววตา เตชาทวีวรรณ และ อัจศรา ประเสริฐสิน.(2559). การพัฒนาแบบการวัดการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ

ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้.วารสารห้องสมุด. 61 (2), 76-92

พีรวิชญ์ คำเจริญ และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ.(2562).การรู้เท่าทันดิจิทัล: วิวัฒนาการ ความหมาย และการสังเคราะห์ทักษะ.วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 1 (2),72-81

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2556). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(พ.ศ.2561-2580). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566.แหล่งที่มา https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). EDTA เปิด 4 ภัยออนไลน์ที่ธุรกิจต้องเจอยุคดิจิทัล.ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/ADTE/etda_ 4cybersecurity.aspx

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2566). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ.2566-2570. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา https https://www.dga.or.th/wp-content /uploads/2023/05/แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย-ปี-พ.ศ.2566-2570.pdf

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา : https://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2563). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. .ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา http://www.nso.go.th/ sites/2014en/ Survey/ICT/Survey%20In%20Household/2020/fullreport_63.pdf

สุภาภรณ์ เกียรติสิน. (2562). การเข้าใจดิจิทัลกับพลเมืองไทย (Digital Literacy in 21st). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยมหิดล

สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

สุมาลี สังข์ศรี. (2558). การพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. นนทบุรี; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุภสิรี จันทวรินทร์. (2565). จิตวิทยาของการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/victim-of-scams

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2564). นิทัศน์แนวคิดและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด

อาชัญญา รัตนอุบล. (2563). แนวคิดการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bawden. (2008). Origins and Concepts of Digital Literacy. In Digital Literacies: Concepts, Policies & Practices. Ed. By C. Lankshear & M. Knobel. 17-32. New York: Peter Lang.

Belshaw. (2012). What is 'digital literacy'? A Pragmatic investigation. Online. Retrieved August 5, 2023. From: http://etheses.dur.ac.uk/3446/

Gilster, Paul. (1997). Digital Literacy. New York: John Wiley & Sons, Inc.

Martin.(2008). Digital Literacy and the “Digital Society” In Digital Literacies: Concepts, Policies & Practices. Ed. By C. Lankshear & M. Knobel. New York: Peter Lang