ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย: สถานการณ์และทางออกเชิงนโยบาย

Main Article Content

พสุวดี จันทร์โกมุท

บทคัดย่อ

       บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น สาเหตุของความเหลื่อล้ำ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ รวมไปถึงทางออกกเชิงนโยบายที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มประชากรเป้าหมายแยกตามระดับฐานะ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากบทความวิชาการ รายงานการวิจัย พบว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมีความชัดเจนมากขึ้น ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดประกอบกับการพัฒนาประเทศตามกระแสเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดช่องว่างของรายได้ ความเป็นอยู่และโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียม ซึ่งนับวันปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
        ทางออกเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยได้ออกแบบระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชากรไทยออกเป็น 5 กลุ่มตามฐานะทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) กลุ่มคนรวยมาก (super rich) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับชาติหรือระดับภูมิภาคและระดับโลก เจ้าของทุนระดับชาติ นักการเมืองระดับชาติรายใหญ่ 2) กลุ่มคนรวยหรือฐานะปานกลางระดับสูง (rich and upper middle class) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารบริษัทเอกชนระดับกลางถึงใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 3) กลุ่มผู้มีฐานะปานกลางทั่วไป (middle class) ประกอบด้วย ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้บริหารบริษัทเอกชนระดับเล็ก พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายเล็ก แรงงานรับจ้างระดับกลางถึงสูง เกษตรกรรายใหญ่ เป็นต้น 4) กลุ่มผู้มีฐานะปานกลางระดับล่าง (lower middle class) เช่น หาบเร่ แผงลอย แรงงานระดับล่างถึงกลางที่มีฝีมือ พนักงานระดับล่างของบริษัทเอกชน ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป เกษตรกรรายเล็ก เป็นต้น 5) กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและยากจน (low income and poor) ซึ่งแนวทางการลดความเหลื่อมล้ำที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่มจะมีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). โครงการศึกษาวิจัยประเด็น นโยบายเชิงลึกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนและสังคมไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558. แหล่งที่มา: http://social.nesdb.go.th/

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ําในประเทศไทย ปี 2555. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558. แหล่งที่มา: http://social.nesdb.go.th

สมชัย จิตสุชน และ จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. (2556). โครงการศึกษาประเด็นเชิงนโยบายด้านความยากจน และการกระจายรายได้. รายงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กุมภาพันธ์ 2556.

อติวิชญ์ แสงสุวรรณ. (2558). ความเหลื่อมล้ำ. กลุ่มงานบริการวิชาการ 2. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Giordono,L.S., Jones, M.D., & Rothwell, D.W., 2019. Social Policy Perspectives on Economic IneQuality in Wealthy Countries. Policy Studies Journal, 47 (S1), S96-S118. DOI: 10.1111/psj.12315

Phongpaichit, P., Praditsil, C., Sukhapanich, T., Archwanuntakul, S., Lekfiangfu, N., Wiwatanakantung, Y., Treeratana, N., & Chaiwatana, T. 2009. Towards a More Equitable Thailand: A Study of Wealth, Power and reform (Research report). Bangkok: The Thailand Research Fund.