สหสัมพันธ์ของการเป็นผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองและผู้จัดการเรียนรู้ ด้วยการนำตนเองของผู้สอนในวิทยาลัยชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผู้สอนในวิทยาลัยชุมชนมีระดับการปฏิบัติในการจัดสภาพการเรียนรู้แบบนำตนเองให้กับผู้เรียนอย่างไรบ้างมีความสัมพันธ์กับการที่ตนเองเป็นผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองด้วยหรือไม่ โดยใช้แบบสำรวจระดับการปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และการจัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้สอนของวิทยาลัยชุมชน เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กับกลุ่มตัวอย่างผู้สอนของวิทยาลัยชุมชน 20 จังหวัด จำนวน 205 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า การเป็นผู้เรียนรู้ด้วยการนำตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้สอนในวิทยาลัยชุมชน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาด้านที่มีความสัมพันธ์สูงสุด พบว่า สามารถจำแนกได้ 5 คู่ คือ (1) ด้านการตัดสินใจเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอน และด้านการประเมินความต้องการการเรียนรู้ของตนเอง มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการสนับสนุนผู้เรียนในด้านต่าง ๆ (2) ด้านการตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้สอนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับปานกลางกับการมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวก (3) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ของตนเองของผู้สอน และด้านความรับผิดชอบต่อตนเองมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับปานกลางกับการเป็นทั้งผู้ประเมินและเป็นผู้ถูกประเมิน (4) ด้านการควบคุมตนเองของผู้สอน ด้านการประเมินตนเอง และด้านการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง ต่างมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับปานกลางกับการเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (5) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้สอนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกในระดับปานกลางกับการฝึกทักษะให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ
Article Details
References
นรินทร์ สังข์รักษา. (2561). การพัฒนาครูมืออาชีพโดยใช้การวิจัยจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างสรรค์คุณภาพวิชาการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (1), 1739-1759.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวเิคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 11 (1), 32-45.
ปิยนันท์ ฉายานพรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองและการใช้ผลลัพธ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะจำเป็นสำหรับครูหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2), 3-12.
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2), 2363-2380.
ไพศาล วรคํา. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
มูลนิธิสยามกัมมาจล. (2566). “ครูยุคใหม่” ต้องมีมากกว่า “จิตวิญญาณความเป็นครู”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2566. แหล่งที่มา : https://www.scbfoundation.com/media_knowledge /document/ 292/ครูยุคใหม่-ต้องมีมากกว่า-จิตวิญญาณความเป็นครู-13091
สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2561). ยุทธศาสตร์สถาบันวิทยาลัยชุมชนระยะ 20 ปี.
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2563). ครุศาสตร์ ต้องรอด! : “จะเป็นครู ต้องไม่หยุดเรียนรู้”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2566. แหล่งที่มา : https://www.the101.world/education-must-survive-post/
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟูปริ๊นติ้ง.
อาชัญญา รัตนอุบล (2559). การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุบล หนูฤกษ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่าย เกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารสมาคมนักวิจัย. 26 (1), 337 – 340.
Brockett, R. G. and R. Hiemstra. (2018). Self-direction in adult learning: Perspectives on theory, research and practice, Routledge.
Hiemstra, R. (1994). Self-directed learning. The sourcebook for self-directed learning 920.Responsibility-Sharing in the Giving and Receiving of Assessment Feedback. Online. Retrieved September 10, 2023. From : https://ccnmtl.columbia.edu/projects/pl3p/ Self-Directed%20Learning.pdf
Nunan, D. and C. Lamb (1996). The self-directed teacher: Managing the learning process.Cambridge Language Education series. Online. Retrieved September 10, 2023. From : https://assets.cambridge.org/97805214/97732/excerpt/9780521497732_excerpt.pdf
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: A guide for learners and teachers. Chicago, IL: Follett Publishing Company.
Robert A. Nash and Naomi E. Winstone. (2017). Responsibility-Sharing in the Giving and Receiving of Assessment Feedback. Frontiers in Psychology. Online. Retrieved September 10, 2023. From : https://api.semanticscholar.org/CorpusID:22910523
Smith, R. and D. Lynch (2010). Rethinking Teacher Education: teacher education in the knowledge age.
Skager, R. (1979). Self-directed learning and schooling: Identifying pertinent theories and illustrative research. International review of education. 25 (4).
Tynjälä, P., Virtanen, A., Klemola, U., Kostiainen, E., & Rasku-Puttonen, H. (2016). Developing social competence and other generic skills in teacher education: Applying the model of integrative pedagogy. European Journal of Teacher Education, 39(3).