อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ ผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การ การรับรู้คุณภาพการให้บริการและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการโรงพยาบาลสัตว์ 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลสัตว์ 3) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการโรงพยาบาลสัตว์ และ 4) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การ ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการ โรงพยาบาลสัตว์ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วง ก.ค. 65 - ธ.ค. 65 จำนวน 3,080 คน จึงกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ตัวอย่าง จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนชั้นภูมิ ผู้ใช้บริการรายเดิม เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการมีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การ การรับรู้คุณภาพการให้บริการ และความจงรักภักดีรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้ใช้บริการมีระดับการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้ใช้บริการการรับรู้คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผู้ใช้บริการรับรู้ภาพลักษณ์องค์การ ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีผ่านการรับรู้คุณภาพการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
โพสต์ทูเดย์. ( 2561). ธุรกิจสัตว์เลี้ยงบูม ตามเทรนด์สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มา https://www.posttoday.com/business/540479
ไทยรัฐออนไลน์ (2563). ภาพรวมตลาดธุรกิจสัตว์เลี้ยงในปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/business/market/1912957
โพสต์ทูเดย์. ( 2564). ธุรกิจสัตว์เลี้ยงบูม ตามเทรนด์สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.posttoday.com/business/540479
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
กานตา ถิ่นทัพไทย.(2560). กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการรับฝากสัตว์เลี้ยงของผู้ใช้บริการ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิมพ์ปภัทร์ สุดประเสริฐ และ ชาตยา นิลพลับ. (2562). คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความภักดี ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 308-316.
ลัษมา เนื่องจำนงค์. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกรักษาสัตว์ในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประภัสสร วงษ์อนุ. (2563). อิทธิพลของคุณค่าด้านราคา คุณภาพบริการของคลินิกสัตว์เลี้ยงต่อความพึงพอใจ ความเชื่อถือไว้วางใจ และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อมรรัตน์ แย้มรส. (2561). ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการ คุณค่าตราสินค้าต่อความจงรักภักดีเชิงทัศนคติและเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ