การพัฒนาทักษะการเรียนภาษาอังกฤษในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

สนิท วงปล้อมหิรัญ
นฤมล ชุ่มเจริญสุข
พระกิตติสารสุธี
สำราญ ศรีคำมูล

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย 2) วิเคราะห์ความก้าวหน้าการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ และ 3) ทราบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ นักศึกษา จำนวน 16 รูป/คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วนำแบบสัมภาษณ์มาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่จะชอบสื่อออนไลน์ที่เข้าใจง่าย เช่น รูปภาพ วิดีโอ คลิป เสียงพูด ดนตรีประกอบ เพื่อกระตุ้นความสนใจ  เริ่มจากการฟัง YouTube, Tik Tok ทักษะการฟังนักศึกษาก็จะชอบดูคลิปข่าวสั้นๆ วิดีโอที่เกี่ยวกับสารคดี เป็นต้น ส่วนทักษะการพูด ส่วนมากจะเน้นสื่อรูปภาพของดาราหรือนักฟุตบอล จากนั้นก็จะวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ตนเองชอบหรือไม่ชอบ และทักษะการอ่าน นักศึกษาส่วนมากจะชอบอ่านนิทานหรือเรื่องสั้น และข่าวซุบซิบของดารา เป็นต้น ส่วนทักษะการเขียน จะเน้นไปที่การเขียนการทำงานในชีวิตประจำวัน การเขียนตามภาพ เป็นต้น โดยการสังเกตและทดสอบการพูดภาษาอังกฤษกับเพื่อชาวต่างชาติ มีการสนทนาที่หลากหลายขึ้น และในประโยคและคำศัพท์ที่เพิ่มขึ้นการฝึกหัดการพูด การฟังจากประโยคสั้นๆการฟังเพลง การดูคลิปสั้น ทำให้ทราบและเดาความหมายของการนำเสนองานนั้นๆได้ อีกทั้งอาจารย์มีการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษในบางรายวิชาทำให้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมในรายวิชาที่ต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ สามารถถาม ตอบอาจารย์เป็นภาษาอังกฤษได้มากขึ้น
          ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ผู้เรียนไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงพอ หรือผู้เรียนมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานอินเตอร์เน็ต รวมทั้งผู้สอนไม่สามารถจัดการสอนออนไลน์แบบถ่ายทอดสดได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เคนัน. (2563). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. ออนไลน์. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact/

พระปลัดภัครวัฒน์ สีลเตโช และคณะ. (2564). รูปแบบการสอนสังคมศึกษาในยุค New Normal.วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 21 (4), 308

เรืองริน เจนวิทยารักษ์ และคณะ. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในการพัฒนาภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียนของ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มา: http://dspace. nstru.ac.th:8080/dspace/handle/123456789/2420

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22 (2), 203-214.

สมิตานัน หยงสตาร์. (2563). ไวรัสโคโรนา : เมื่อการเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป ห้องเรียนออนไลน์คือคำตอบ ?. ออนไลน์. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.bbc.com/thai/ thailand-51975231

ยุพเรศ ขาวฉ่ำ. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Teach Less, Learn More โดยใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการสอนปกติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/2987