คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้คือ ผู้ทำบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 880 บริษัท คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จากสูตรของ ทาโรยามาเน่ ซึ่งได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 275 บริษัท ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจ ด้านการกำหนดปัญหา ด้านการค้นหาทางเลือก ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติตามการตัดสินใจ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. (พิมพ์ครั้งที่ 18). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2564). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชียุคดิจิทัล กรมพัฒน์ฯ เร่งเสริมแกร่งผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีรับการเปลี่ยนแปลง. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https:// www. dbd.go.th/news_view.php?nid=469414025
ชลิดา ลิ้นจี่ , กนกมณี หอมแก้ว, และ สุภาพร บุญเอี่ยม. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(1), 34-45.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). โครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566.
แหล่งที่มา https://www.set.or.th/th/listing/equities/industry-sector-classification
ญาณินท์ ตั้งภิญโญพุฒิคุณ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานทางบัญชีและประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจSMEs ในจังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิทยาลัยพาณิชศาสตร์บูรพาปริทัศน์,12(2),107-121
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2551). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน.
มงคล กิตติวุฒิไกร (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีบริหารและประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสารคาม, 14(1), 64-75.
สุวิชาดา เสาสูง. (2565). ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ดีกับคุณภาพการปฏิบัติงานด้านบัญชี. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.spu.ac.th/award/33930/qwe
สุภาพันธุ์ สายทองอินทร์ (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีบริหาร: หลักฐานจากธุรกิจเครื่องดื่มในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยคริสเตียน. 24(4), 503-515
สุภาพันธุ์ สายทองอินทร์ (2565). คุณภาพข้อมูลบัญชีบริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจ นำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ศศิมา สุขสว่าง. (2563). 5 ขั้นตอนในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ที่ดีสำหรับผู้นำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา https://www.sasimasuk.com/17083804/5
อนุชิต กลิ่นกำเนิด. (2554). องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ.ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา http://srayaisom.dyndns.org/webinformation/step.html
B.J. Hodge and William P. (1991) Anthony, Organization theory : A Strategic Approach (4th ed) . Massachusetts Allyn and Bacon, lnc.
Bui, Hung Q., Hoai, Tu T., Tran, Hoa A. & Nguyen, Nguyen P. (2023). Performance implications of the interaction between the accountants’ participation in strategic decision-making and accounting capacity. Journal of Asian Business and Economic Studies, 30(1), 67-81.
Moses, b (2014). Quality of Accounting Information and Financial Performance of Uganda’s Public Sector American. Journal of Research Communication , 2(5) , 183-203.
Plunkett, W.R. and R. F. Attner. (1994). Introduction to Management. (5rd ed). Wadsworth.