การรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรีตามรอยกวีนิพนธ์นิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ของนักท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามรอยกวีนิพนธ์นิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ จังหวัดเพชรบุรี และ2) การรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามรอยกวีนิพนธ์นิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวและมีประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอบ้านแหลมและอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามรอยกวีนิพนธ์นิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 2 ครั้งต่อปี ลักษณะการเดินทางแบบครอบครัว จำนวนวันที่เข้าพัก 2-4 วัน ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางส่วนใหญ่เดินทางโดยรถยนต์ มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้ง 15,000 บาทหรือต่ำกว่า สิ่งดึงดูดใจในการเดินทางท่องเที่ยว คือ ความสวยงามของธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ การไหว้พระ ทำบุญ และแหล่งท่องเที่ยวที่กลุ่มตัวอย่างของนักท่องเที่ยวที่สนใจ คือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ2) การรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามรอยกวีนิพนธ์นิราศเมืองเพชรของกวีเอกสุนทรภู่ จังหวัดเพชรบุรี พบว่าการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว มีความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุด คือรู้สึกได้พักผ่อนระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี และรู้สึกได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบุรี
Article Details
References
กุณฑล เพ็ชรเสนา. (2565). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ด้วยแนวคิดประสบการณ์
การท่องเที่ยว. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 13 (1), 72-86.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยม เยือน เดือนมิถุนายน 2566. หน้า 1
ทัชชะพงศ์ อัศวพรหมธาดา. (2550). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยว ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปุณยนุช ลีฬหะสุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตย์, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม วิทยาลัยการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2561-2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: http://phetchaburi.go.th/phet2/CODE/files/1558496349_ plan 6165.pdf
CEOWORLD Magazine. (2021). Revealed: World’s Best Countries For Cultural Heritage Influence, 2021. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://ceoworld.biz/ 2021/01/31/best-countries-for-cultural-heritage-influence-2021/
The Bangkok Insight. (2564). เปิดรายได้ท่องเที่ยว ‘เมืองหลัก-เมืองรอง’ ปี 63 ลดวูบถ้วนหน้า ซมพิษ
โควิด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.thebangkokinsight.com /news/business/569972/