รูปแบบการบริหารสถานศึกษา; ความเป็นเลิศ; โรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดสงขลา การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดสงขลา มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จากการค้นคว้าเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ตอนที่ 2 ยืนยันรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 15 เท่าของตัวแปร จำนวน 945 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .908-.969 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ด้วยวิธีการการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การประถมศึกษาจังหวัดสงขลา มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กระบวนการบริหารจัดการ 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษา 4) เครือข่ายและการมีส่วนร่วม 5) แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อม 6) คุณภาพผู้เรียน และ 7) การวัด ติดตาม และประเมินผล ซึ่งเรียกชื่อย่อว่า PLTNESE Model
2.แนวทางการนำ PLTNESE Model ไปใช้ มีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติให้เหมาะสมและนำไปสู่การปฏิบัติโดยมีแนวทางดังนี้ 1) P: Process มี 7 ขั้นตอน 2) L: Leadership มี 5 ขั้นตอน
- T: Teachers มี 4 ขั้นตอน 4) N: Networks มี 5 ขั้นตอน 5) E : Environment มี 5 ขั้นตอน6) S: Students มี 4 ขั้นตอน และ 7) E: Evaluation มี 6 ขั้นตอน
Article Details
References
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.). (2564). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ.2560 - 2570). คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.): จังหวัดสงขลา.
ชัยยศ ชาวระนอง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาท้องถิ่นและตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
ยุภาวรรณ โมรัฐเถียร. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสู่ ความเป็นเลิศโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 10 (1), 31 - 45.
สมาพร ลี้ภัยรัตน์. (2560). รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. งานวิจัยครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). นโยบายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา. (2562). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562-2565) จังหวัดสงขลา. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.
อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัด. งานวิจัยครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: Guilford Press.
Schumaker, E Randall. & Lomax, G Richard. (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. (4 th ed.). New York: Routledge.