การเลี้ยงปูนาด้วยระบบควบคุมฟาร์มปูนาอัตโนมัติ

Main Article Content

จีระนันท์ วงศ์วทัญญู
ราชิต เพ็งสีแสง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปูนาที่เลี้ยงด้วยระบบความคุมฟาร์มปูนาอัตโนมัติ เป็นการวิจัยแบบทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ปูนาสายพันธุ์ Sayamia germaini และ Sayamia bangkokensis อายุ 3-4 เดือน แบงการทดลองออกเปน 2 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 คือ ปูนา S. germaini กลุ่มที่ 2 คือ ปูนา S. bangkokensis โดยใชแผนการทดลองแบบสุมตลอด (Completely Randomized Design; CRD) การเก็บรวบรวมข้อมูลการเจริญเติบโต ละอัตราการรอดทุก ๆ 1 เดือน จนครบ 4 เดือน แล้วบันทึกผล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลีย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า ปู S. bangkokensis เพศผู้มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงกว่า S. germaini เพศผู้ 0.8 กรัม และปูเพศผู้ของทั้งสองสายพันธุ์มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงกว่าเพศเมีย ส่วนของความยาวกระดองที่เพิ่มขึ้น พบว่า ปูนาสายพันธุ์ S. germaini เพศเมียสูงกว่า S. bangkokensis 0.3 เซนติเมตร  อัตราการรอดตายของปูนา มีอัตราการรอดตายเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 94.17 และพบว่าเพศเมียจะมีอัตราการรอดตายที่สูงกว่าเพศผู้ อุณหภูมิของน้ำในบ่อเลี้ยงปู จะต่ำสุดในเวลา 08.00 น. ที่ 27.6 ± 0.14 องศาเซลเซียส และสูงสุดในเวลา 12.00 น. ที่ 30.1 ± 0.62 องศาเซลเซียส pH ของน้ำในบ่อเลี้ยงปูนา อยู่ที่ 6.8 ± 0.09 - 7.1 ± 0.11

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำจัด ร่าเริงดี. (2550). การเพาะเลี้ยงปูม้า. เกษตรก้าวหน้า. 20 (2), 6-18

ถวิล ประมวล. (2533). อนุกรมวิธานของปูนาและลักษณะของโกโนพอด, โอมาติเดีย โดยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาชีววิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนีย์ คิดจิตต์. (2522). ชีววิทยาบางประการของปูนา Somanniathelphusa germini (Rath bun, 1902).วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสัตววิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ.

บรรจง เทียนส่งรัศมี และ บุญรัตน์ ประทุมชาติ. (2545). ปูทะเล ชีววิทยา การอนุรักษ์ทรัพยากรและการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์แบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์. (2552). การเลี้ยงลูกปูทะเล Scylla paramamosain (Estampador, 1949) โดยมีวัสดุหลบซ่อนต่างกันในบ่อดิน. กรมประมง: กรุงเทพมหานคร.

สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร, พรชัย จารุรัตน์จามร และ สำเนาว์ ข้องสาย. (2545). การศึกษาชีววิทยาของปูนา.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร, พรชัย จารุรัตน์จามร, สำเนาว์ ข้องสาย และ เตือนใจ ดุลย์จินดาชบาพร. (2544). การศึกษาอายุและการเจริญเติบโตของปูนา. กรุงเทพมหานคร: ทบวงมหาวิทยาลัย.

สวาท รัตนวรพันธุ์ และสมชาย ตั้งพูลผล. (2516). ปูนาในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์. 6 (6), 569-578.

เอกพล วังคะฮาต และ พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธุ์. (2553). การศึกษาเบื้องต้นของความหลากชนิดและการแพร่กระจายของปูนาในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. (พิมพ์ครั้งที่ 48). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์