ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับ แนวคิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ประทีป คงเจริญ
วารีรัตน์ แก้วอุไร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ศึกษาพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีแบบแผนการวิจัยแบบอนุกรมเวลา มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวและมีการวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.1 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินแบบรูบริค วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนระดับของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมตามแนวคิดการประเมินของ SOLO Taxonomy ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.67, S.D. = 0.03) และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6584 2) นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่สูงขึ้นจากระดับต่ำสุดคือ ระดับ 1 ก่อนโครงสร้าง (Pre-structural) เป็นระดับที่นักเรียนยังไม่สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ไม่สามารถนิยามปัญหาได้สมเหตุสมผล จึงยังไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ไปจนถึงระดับสูงสุด คือ ระดับ 5 นามธรรมขั้นขยาย (Extended Abstract) เป็นระดับที่นักเรียนเข้าใจในประเด็นปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถ่องแท้ จนนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งในบริบทที่ผู้เรียนสนใจและในบริบทอื่นที่มีความคล้ายคลึงกันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิชญ์ โสภา. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 34 (1), 76-87.

กัลยา สร้อยสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (2), 486–501.

เผชิญ กิจระการ. (2559). การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา. การวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พันธุ์ยุทธ น้อยพินิจ. (2560). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวย ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชญา ดีมี และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2560). การพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนตามแนวคิดการประเมินผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (2), 139-153.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, และพรรณี บุญประกอบ. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 9 (1), 81-96.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2562. แหล่งที่มา http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thingking.Learning. by.Doing.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อนุวัติ คุณแก้ว. (2558). การวัดผลและประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย.

Ark, B. V., Barrington, L., Fosler, G., Hulten, C., & Woock, C. (2009). Innovation and U.S. competitiveness: Reevaluating the contributors to growth. Online. Retrieved May 20, 2022. from : https://www.conference-board.org/pdf_free/R-1441-09-KF.pdf

Battelle for Kids. (2019). Partnership for 21st Century Learning: A Network of Battelle for Kids. Online. Retrieved May 20, 2022. from : https://www.battelleforkids. org/networks/p21.

Berg, C. A., Melaville, A., & Blank, J. M. (2006). COMMUNITY & FAMILY ENGAGEMENT PRINCIPALS SHARE WHAT WORKS. Online. Retrieved May 12, 2022. from : https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED494521.pdf

Brabrand, C., and Dahl, B. (2009). Using the SOLO taxonomy to analyze competence progression of university science curricula. Higher Education, 58(4). 531–549.

Casner-Lotto, J., & Barrington, L. (2006). Are They Really Ready to Work?: Employers’ Perspectives on the Basic Knowledge and Applied Skills of New Entrants to the 21st Century U.S. Workforce. Online. Retrieved May 12, 2022. from : https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED519465.pdf

Department of Education, Queensland Government. (2020). Advancing Partnerships Parent and Community Engagement Framework. Online. Retrieved May 12, 2022. from : https://education.qld.gov.au/parents/community-engagement/Documents/pace-framework.pdf

IDEO.org. (2015). The Field Guide to Human-Centered Design. Canada: Design Kit.

Phu, H. M. (2019). DEVELOPING CREATIVITY FOR CHILDREN: ROLE OF PARENTS. Online. Retrieved July 13, 2021. from: https://www.researchgate.net/publication/ 335099597_Developing_creativity_for_children_Roles_of_parents

Potter, M. K., and Kustra, E. (2012). A Primer on Learning Outcomes and the SOLO Taxonomy. Centre for Teaching and Learning: University of Windsor.

The Standford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). D.school bootcamp bootleg: Institute of design at Standford. Online. Retrieved June 13, 2020. from : http://dschool. stanford.edu/wp-content/uploads/2011/03/BootcampBootleg2010v2SLIM.pdf