ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการบอกเลิกสัญญาประกันวินาศภัย

Main Article Content

จักรวาล สุธรรม
รัฐชฎา ฤาแรง

บทคัดย่อ

           งานวิจัยเรื่อง “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการบอกเลิกสัญญาประกันวินาศภัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาประกันวินาศภัย เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
           เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม มีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 คน คือ ตัวแทนบริษัทประกันภัย เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ลูกค้าผู้เอาประกันภัย และนักวิชาการด้านกฎหมายประกันภัย
           ผลการวิจัยพบว่า การบอกเลิกสัญญาประกันวินาศภัยมีสองกรณี คือ การบอกเลิกโดยข้อสัญญา และการบอกเลิกโดยบทบัญญัติของกฎหมาย แต่การประกันวินาศภัยของราชอาณาจักรไทย ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขของการเลิกสัญญาประกันวินาศภัยอย่างชัดเจน การคืนเบี้ยประกันภัยก่อนเริ่มเสี่ยงภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 872 ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยกึ่งจำนวนนั้นอาจไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น ตารางการคืนเบี้ยประกันภัยที่ คปภ. กำหนดนั้น หากนำมาใช้ในการคืนเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรณีคือ กรณีที่เคลมประกันแล้วกับยังไม่มีการเคลมประกัน หากยกเลิกสัญญาประกันวินาศภัยก็จะได้คืนเบี้ยประกันภัยในอัตราเดียวกัน ซึ่งไม่เป็นธรรมกับทั้งบริษัทผู้เอาประกันวินาศภัย และผู้เอาประกันวินาศภัย ในส่วนของการคืนทุนประกันภัยควรมีการกำหนดเป็นกฎหมายให้ชัดเจนว่าให้คืนทุนประกันวินาศภัยที่ร้อยละ 80 จึงขอเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไข ป.พ.พ. ในส่วนของประกันวินาศภัย โดยกำหนดเหตุแห่งการเลิกสัญญาประกันวินาศภัย และการคืนเบี้ยประกันภัยให้ชัดเจนขึ้น และแก้ไขมาตรา 872 โดยให้ผู้รับประกันภัยชอบที่จะได้เบี้ยประกันภัยตามค่าใช้จ่ายจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ จิรวิศิษฎ์ และ ธีระรัตน์ จีระวัฒนา. (2565). เปิดมุมมองนักกฎหมายกับสิทธิการบอกเลิกสัญญาประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 25 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา : https://www.moneyand banking.co.th/article/news/lawyers-point-of-view-right-to-terminate-the-insurance-contract-2001-2022.

ธโนดม โลกาพัฒนา. (2564). คู่มือประกันวินาศภัยไทย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมประกันวินาศภัย.

รัฐชฎา ฤาแรง และคณะ. (2564).ปัญหาการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลกระทบในการตรากฎหมาย. ปทุมธานี, วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (1),

รัฐบาลไทย. (2565). ถอดรหัส..! กฎกติกาสากล-กฎหมายไทย คลี่ปมปัญหาเหตุใดบริษัทประกันภัยจึงบอกเลิกกรมธรรม์ประกันเจอ จ่าย จบ “ไม่ได้” เรียบเรียงโดย : สายกฎหมายและคดี สำนักงาน คปภ.ออนไลน์.สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/50958.

วิริยะประกันภัย. (2563). ตารางคืนเบี้ยประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 16 กรกฎาคม 2564แหล่งที่มา : https://www.viriyah.co.th/th/download/motor_document/Type1_AdditonalCoverage.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2564). ประวัติการประกันภัย. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 16 มกราคม 2566. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/view/tanapont/e-.