การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิด เกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ

Main Article Content

สมบัติ นาคนาวา
สุพรรณี สมานญาติ
สรายุทธ์ เศรษฐขจร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ และ2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบผสมเชิงสำรวจ ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับการสำรวจข้อมูลเชิงลึกเพื่อตรวจสอบตัวแปรที่จะนำมาใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ 4 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 3 คน กลุ่มผู้บริหารกรมกิจการผู้สูงอายุ 2 คน และกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ 4 คน รวม 13 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 121,318 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดขาดตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์เกน จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบประเมิณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ ได้ค่าดัชนีตรวจสอบความสอดคล้องโมเดล ดังนี้ χ2 = 49.80, df = 37, p-value = 0.007, RMSEA = 0.033, GFI = 0.976 และAGFI = 0.942 จึงสรุปได้ว่า การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบซึ่งเรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบ ได้ดังนี้ ด้านกลุ่ม (GROUP: 0.98) ด้านกรรมการ (DIRECTOR: 0.96) ด้านกติกา (RULES: 0.89) ด้านกิจกรรม (ACTIVITY: 0.85) และด้านกองทุน (FUND: 0.81) และ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เหมาะสมกับสังคมผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชวาล ชุมรักษา และ คุณอานันท์ นิรมล. (2560). การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน “คน น้ำ ป่า เขาปู่” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ. วารสารครุพิบูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 4 (2), 124-130.

ดวงพร สุภาพร, ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ และ กัมปนาท บริบูรณ์. 2561. วิถีการเรียนรู้กับการบริหารศูนย์การเรียนชุมชนธรรมชาติบ้านห้วยพ่าน. Veridian e-journal มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (3), 1526-1541.

ปรีชา ปัญญานฤพล และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 15, 182.

พัชรา สังข์ศรี. (2556). แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในภาคกลาง. วารสารสุโขทัยธรรมา ธิราช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 26 (2), 48-59.

ยุรธร จีนา. (2561). โรงเรียนเปี่ยมสุข: รูปแบบการจัดการองค์กรชุมชนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (1), 171-182.

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2559). แนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารการบริหารปกครอง. 5 (2), 60-72.

สิริวัลลิ์ พฤกษาอุดมชัย. (2560). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตำบลดอนแฝก จังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1), 1439-1451.

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต, วรรณวีย์ บุญคุ้ม และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

Krejcie, Robert V. and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement. 10 (11), 308.