ปัจจัยที่มีผลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4

Main Article Content

นันทิตา วงษ์สุวรรณ์
วัชรี เรือนคง
เยาวมาลย์ วิรัตน์คำเขียว

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อประเมินปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์ต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกใน 12 สัปดาห์ ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตสุขภาพที่ 4 เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 ด้วยวิธีใช้แบบสอบถาม กับหญิงตั้งครรภ์จำนวน 226 คน ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลของรัฐจำนวน 3 แห่ง ในเขตสุขภาพที่ 4 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Chi-square Test และ Fisher’s Exact Test ที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เพียงร้อยละ 34.1ซึ่งปัจจัยนำที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีสถานภาพสมรส ปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมระหว่างบุคคลและสังคมมีความสัมพันธ์กับการมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 และพบว่าหญิงตั้งครรภ์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของการไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์  มีการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคต่อการไปฝากก่อน 12 สัปดาห์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 44.7, 54.0 และร้อยละ 98.7 ตามลำดับ และด้านแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และมารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและบุคลากรสาธารณสุข จึงเป็นปัจจัยสำคัญในนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศศิธร โพธิ์ชัย, พวงผกา คงวัฒนานนท์, วนลดา ทองใบ. (2018). ความเชื่อตามวัฒนธรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 26 (3), 71-81.

.สุวิมล สุรินทรัพย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่โซนตะวันชิงพลบ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. 2559. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการสรุปการตายของแม่และเด็ก.

Andrea Carlson Gielen, Eileen M. McDonald, (2009). Tiffany L. Gary, Lee R. Bone.USING THE PRECEDE-PROCEED MODEL TO APPLY HEALTH BEHAVIOR THEORIES

Best JW, Kahn JV. (2016). Research in education. Pearson Education India.

Bloom BS. (2016). Handbook on formative and summative evaluation of student learning.Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. Maternal and Child Mortality Summary Handbook.

Champion VL, Skinner CS. (2008). The health belief model. Health behavior and health education: Theory, research, and practice. 4, 45-65.

Edessa A, Dida N, Teferi E. (2023). Early initiation of antenatal care and its associated factors among antenatal care followers at public health facilities in Ambo town administration, Central Ethiopia. Journal of Family Medicine and Primary Care. 12 (1), 67-75.

Geta MB, Yallew WW. (2017). Early initiation of antenatal care and factors associated with early antenatal care initiation at health facilities in southern Ethiopia. Advances in Public Health.

Organization WHO. (2002). WHO antenatal care randomized trial: manual for the implementation of the new model. World Health Organization.

Peduzzi P, Concato J, Kemper E, Holford TR, Feinstein AR. (1996). A simulation study of the number of events per variable in logistic regression analysis. Journal of clinical epidemiology. 49 (12), 1373-9.