กระบวนทัศน์แคนลายแม่บทของนายสมบัติ สิมหล้า

Main Article Content

ณัฐพล ดีคำ
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร

บทคัดย่อ

          ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานเป็นดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากดนตรีพื้นบ้านภาคอื่น ๆ องค์ประกอบที่สำคัญของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานมีจังหวะตั้งแต่ช้า ปานกลางและเร็ว มีทำนอง หรือที่เรียกว่า “ลาย”  และมีการประสานเสียงที่เกิดขึ้นภายหลังจากการบรรเลงหรือการร้องลักษณะทำนองเดียว เครื่องดนตรีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานที่สำคัญ คือ แคน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะในการบรรเลง  อีกทั้งยังเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกของนายสมบัติ สิมหล้า ผู้ซึ่งเป็นศิลปินมรดกอีกสาน
          งานวิจัยเรื่องกระบวนทัศน์แคนลายแม่บทของนายสมบัติ สิมหล้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุดความคิดแคนลายแม่บทของนายสมบัติ สิมหล้า ผ่าน 3 ช่วงเวลา ได้แก่
1) ช่วงปี พ.ศ. 2535-2544 2) ช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 3) ช่วงปีพ.ศ. 2555-2565 ประกอบด้วย 6 ลาย ได้แก่ ลายใหญ่ ลายน้อย ลายเซ ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้าย และลายสร้อย และเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางดนตรีผ่านมุมมองแคนลายแม่บทของนายสมบัติ สิมหล้า ในการสร้างสรรค์การบรรเลงแคนที่แสดงให้เห็นถึงทักษะ บทบาทและหน้าที่ การรับรู้ ในการอธิบายถึงพัฒนาการของทำนอง เทคนิคการบรรเลง การศึกษากระบวนทัศน์แคนลายแม่บทของนายสมบัติ สิมหล้านี้ เป็นงานวิจัยที่มุ่งอธิบายพัฒนาการทางดนตรี และปรับใช้ให้เข้ากับบริบททางสังคม ผ่านปรากฏการณ์ทางดนตรีที่เกิดขึ้นของนายสมบัติ สิมหล้า
          ผลการวิจัยพบว่า การบรรเลงแคนของนายสมบัติ สิมหล้า มีลักษณะการบรรเลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งนายสมบัติ สิมหล้า มีความสามารถพิเศษในด้านทักษะการจดจำเรื่องราวได้อย่างแม่นยำ เป็นผู้มีโสตประสาทในการรับฟังดีเยี่ยม  เทคนิคการบรรเลงด้วยวิธีการต่าง ๆ ของนายสมบัติ สิมหล้า นั้น ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ด้วยความรู้และประสบการณ์ของนายสมบัติ สิมหล้า จนตกผลึกเป็นเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในการบรรเลงแคนอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2560). กระบวนทัศน์การวิจัยสื่อสารมวลชนฯ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์ การวิจัยเชิงคุณภาพ คู่มือนักศึกษาและนักวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ณรุทย์ สุทธจิตต์. (2548). สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย. (2562). อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 9 (1). 35.

พิชัย ปรัชญานุสรณ์. (2529). สู่โลกดนตรี. กรุงเทพมหานคร: หนึ่งเจ็ดการพิมพ์.

พิชัย ปรัชญานุสรณ์. (2545). ดนตรีปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มราพันธ์ ชะยะมังคะลา. (2561). องค์ประกอบของความสามารถทางดนตรี: กรณีศึกษานักเรียนแข่งเปียโน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 10 (2), 52.

สุกัญญา สุจฉายา. (2545). เพลงพื้นบ้านศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกรี เจริญสุข. (2561). เสียงใหม่ในอุษาคเนย์. นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว. (2561). วัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองไทยสี่ภาค. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สราวุฒิ สีหาโครต. (2557). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงแคนลายแม่บทของครูสมบัติ สิมหล้า. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หิรัญ จักรเสน. (2561). ดนตรีพื้นเมืองขั้นแนะนำ. ขอนแก่น: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เอนก นาวิกมูล. (2550). เพลงนอกศตวรรษ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: มติชน