แรงจูงใจและสมรรถนะการทำงานที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น สู่ความเป็นเชฟอาหารไทยมืออาชีพในระดับสากล

Main Article Content

สรายุทธ ชัยเลื่องลือ

บทคัดย่อ

           การศึกษาแรงจูงใจและสมรรถนะการทำงานที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเชฟอาหารไทยมืออาชีพในระดับสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจการทำงานเป็นเชฟอาหารไทย 2) ศึกษาความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเชฟอาหารไทยมืออาชีพในระดับสากล 3) วิเคราะห์เส้นทางของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเชฟมืออาชีพอาหารไทยในระดับสากล ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ แรงจูงใจการทำงาน สมรรถนะการทำงาน และความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเชฟมืออาชีพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ได้มาจากการคำนวณจากสูตรไม่ทราบขนาดตัวอย่างของ W.G. Cochran โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95ของพนักงานที่เป็นเชฟมืออาชีพอาหารไทยในระดับสากล จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจ สมรรถนะการทำงาน ความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเซฟมืออาหารไทยมืออาชีพในระดับสากล โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และส่งผลต่อความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเซฟอาหารไทยมืออาชีพในระดับสากล ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งเชฟอาหารไทยในระดับสากล ควรให้ความสำคัญต่อปัจจัย (แรงจูงใจการทำงาน การยอมรับนับถือ, ความก้าวหน้าในการทำงาน,ความสำเร็จของงาน,รายได้,สมรรถนะการทำงาน,ทัศนะคติ,องค์ความรู้และทักษะ, ความสามารถ,และความรับผิดชอบ) ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อความเชื่อมั่นสู่ความเป็นเชฟมืออาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ

ผู้เรียนระดับการศึกษาชั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่

. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กวี แย้มกลีบ. (2560). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัท ทาคาฮาชิ โคราช (1995) จำกัด.

วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และ

ลูกจ้าง องค์การคลังสินค้า. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชนัญชิดา แคนไธสง. (2557). ผลกระทบของแรงจูงใจในวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน

ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการบัญชีและการจัดการ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐิตารีย์ สุขบุตร. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เดลินิวส์. (2565). "ครัวไทยสู่ครัวโลก" สร้างมาตรฐานร้านอาหารไทย. ออนไลน์.

สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th › article.

นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และ

คิลปะ, 7(3), 507-528.

บุษรา สร้อยระย้า. (2555). การออกแบบเครื่องแต่งการเชฟที่เหมาะกับการปฏิบัติงานของเชฟในครัว

อาหารไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทไฮเวย์ จำกัด.

วิทยานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาค

เอกชน มหาวิทยาลัยบรูพา.

วิกิพีเดีย, (2556). พ่อครัว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/พ่อครัว

วาสนา มาวงศ์. (2559). สมรรถนะการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดาพร ทิมฤกษ์ และชญานิษฐ์ พราหมเภทย์. (2549). เอกสารประกอบการฝึกอบรมอาหารไทย

ให้แก่คนไทยในยุโรป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

สมนึก ลิ้มอารีย์. (2552). การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานใน

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุวพีร์ สุวัณณะศรี. (2541). วิวัฒนาการอาหารภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนสุนันทา

เสนาะ ติเยาว์. (2565) แรงจูงใจกับความสำเร็จในงาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2565.

แหล่งที่มา http://www.swk.ac.th/stech/pictureslupload1/LANG52.pdf.

อรรคพงษ ไมตรีจิตต์. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ดีในการทำงานของ

บุคลากรกรมพลศึกษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬาและ

นันทนาการ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติวิทยาเขตชลบุรี

อัศวิน แสงทองคำ (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานที่ดิน

จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบาย

สาธารณะ มหาวิทยาลัยพะเยา

เอกพล วงศ์เสรี. (2559). การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจบริการเพื่อเตรียม

ความพร้อมรองรับประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน : ระนอง

พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง. สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Wong nai. (2565). สรุปข้อมูลเทรนด์ธุรกิจร้านอาหาร ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565.

แหล่งที่มา https://www.wongnai.com › business-owners › Thailand

Froyen, R. T. (2001). Macroeconomic theories & policies. Bangkok: Pearson Education Indochina Ltd.

Maleekaew, c. and S. Sudthamnong. (2008). Finding of Key Factors in Creating

Small Business System’s Success : The Case study in Thai Restaurants in Sweden.

Master’s Thesis Malardalen: Malardalen University.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.