การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง ลดหวานและต้านเค็มเติมเต็มสุขภาพดี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

พิศมัย พรมวังขวา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ เรื่อง ลดหวานและต้านเค็มเติมเต็มสุขภาพดี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีดอนไชย จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.15/76.09 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ ฉิมพาลี. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณการรู้วิทยาศาสตร์และเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมและการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จตุรภัทร มาศโสภา. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จันทร์ทิพย์ มีแสงพันธ์. (2562). การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสตีมผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชรินทร์ทิพย์ ศุขศาสตร์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลและเจตคติต่อชีววิทยา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: conference 2017.reru.ac.th › wp-content › uploads › 2017/10 › EDU-19.

เชิญตะวัน สุวรรณพานิช. (2556). ห้องเรียนกลับด้านขานรับ ความคิดใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2560. แหล่งที่มา: http://www.taamkru.com/th.

ทิศนา แขมมณี. (2551). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2551). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2 (3), 99–106.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). หลักสูตรใหม่ ผลักดันสังคมไทยก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.ipst.ac.th/index.php/news-and-announcements/training-seminar/item/2776-4-0 .

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียน มิติใหม่ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2 ณ ห้องประชุมเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: website: www.mbuisc.ac.th › phd › academic.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี กับการบูรณาการสู่แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: http://www. ubu.ac.th/web/ files_up/03f2017041813215099.pdf.

ไสว นามเกตุ. (2555). การปฏิบัติการพัฒนาการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโปร่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อรณิชา หงส์เกิด และคณะ (2561) แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 9 (2), 211-226.

อัสวิน ธะนะปัต.(2558). การพัฒนาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในหน่วยการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Lin, S. and Mintzes, J. (2010). “Leaming argumentation skill through instruction in Sosio-scientific issue : The effect of ability level.” International Journal of Science and Mathematics Education. 8 (6), 993–1017.

Morse, N. C. (1995). Satisfaction in The White Collar Job. Michigan : University of Michigan. Press.

Organization for Economic Cooperation and Development [OECD]. (2015). PISA 2015 Science Framework. (March 2013), 19–48. [Online]. Available from : https:// www.oecd.org/publications/pisa-2015-assessment-and-analytical-framework-9789264281820-en.htm. [accessed 6 October 2019].

Saad M., S. Baharom, S. Mokshien and M. Setambah, (2017). "The Study of Used Socio Scientific issues (SSI) in Biology," International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. vol. 7, no. 3, pp. 348-355,

Sadler, T. and Zeidler, D. L. (2009). Scientific literacy, PISA, and Socio-scientific discourse: Assessment for progressive aims of science education. Journal of Research in Science Teaching. 46 (8), 909–921.