กระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อพัฒนากระบวนการและศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากร ประกอบด้วย ครู และผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุตรดิตถ์ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านโรงหม้อมิตรภาพที่ 75 โรงเรียนวัดบ้านใหม่ โรงเรียนปางหมิ่น โรงเรียนศิลปศาสตร์ โรงเรียนราษฏร์อำนวย โรงเรียนนาต้นโพธิ์ และโรงเรียนคุรุประชาสรรค์ รวมกลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ แบบประเมินศักยภาพครูและความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
1. ผลการศึกษาปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไม่ชัดเจน ครูผู้สอนไม่สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนเพราะไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องหรือไม่ ครูไม่เห็นคุณค่าของการวิจัยในชั้นเรียนเพราะมีความเชื่อว่าไม่ใช้วิจัยในชั้นเรียนก็สามารถแก้ปัญหานักเรียนได้ ครูโรงเรียนขนาดเล็กขาดผู้ให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาหรือพี่เลี้ยงในการทำวิจัย
2. ผลการพัฒนากระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การร่วมแรงร่วมใจ และการเป็นกัลยาณมิตร มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นประสบการณ์ ขั้นนำเสนอ ขั้นอภิปรายและสรุป และ ขั้นบันทึกผลการเรียนรู้
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดอุตรดิตถ์
4. พบว่า ครูที่เข้ารับการอบรมเกิดการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาผู้เรียน และ ด้านการพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.79 คะแนน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กานต์ อัมพานนท์. (2560). ความเป็นครู. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
จตุภูมิ กุลาสา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยของครู ศูนย์ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอห้วยแม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฏฐพร แสงฤทธิ์. (2560). การพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านติ้วราษฎร์อุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิพยาภา คำขา. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหา บัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลับบูรพา.
เบญจวรรณ เหลวกูล. (2561). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์การ ศึกษศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลับบูรพา.
ภัทราพร เกษสังข์ . (2559). การวิจัยปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 19).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวนีย์ ชูศรี. (2564). การพัฒนาศักยภาพครูในการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(2) , 48-59.
อัครวิชช์ เชิญทอง. (2564). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 4(3) , 1-12.
Campbell, S. & Samiec, E. (2005). 5-D Leadership : Key Dimensions for Leading in Real word. Mountain View, California : Daviess-Black Publishing.