การตีความและการสื่อความหมายในบทเพลงไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการตีความในบทเพลงไทย 2. เพื่อวิเคราะห์วิธีการสื่อความหมายของบทเพลงไทย ผู้วิจัยศึกษาการตีความบทเพลงไทยผ่านขับร้องและบรรเลงวงปี่พาทย์ไม้นวมเพลงตับเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ของคณะศิษย์ศรประดิษฐ์ ภายใต้การควบคุมการบรรเลงของอาจารย์ประสิทธิ์ ถาวร ที่ได้ทำการบันทึกเสียงไว้ในปี พ.ศ. 2509 ณ บ้านเสริมมิตร
ผลการวิจัย พบว่า 1. การเรียบเรียงทางดนตรีไทยเพื่อการบรรเลงมีกระบวนการวิเคราะห์รูปแบบการบรรเลงด้วยการตีความทางดนตรีการตีความโครงสร้างบทเพลง การตีความบทวรรณกรรม และการตีความบทร้องให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับบทเพลง การตีความทางดนตรีจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านวรรณคดี ทฤษฎีดนตรีไทย และทักษะการบรรเลงดนตรีไทย นับเป็นภูมิปัญญาของนักดนตรีไทยในการถ่ายทอดระบบความคิดผ่านการบรรเลงดนตรีไทยการวิเคราะห์เชิงสัญญวิทยาทำให้พบว่า 2. วิธีการสื่อความหมายของนักดนตรีไทยมี 3 วิธีการ คือ 1) การสร้างสรรค์ทางเพลงและกลวิธีการปรับวงโดยใช้การปรับเปลี่ยนทำนองบางส่วน 2) การสร้างกลวิธีการบรรเลงเพื่อเลียนเสียงธรรมชาติและ 3) การประกอบสร้างความหมายผ่านวงดนตรี กลุ่มเสียงและจังหวะหน้าทับ
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2560). เครื่องมือทำงานวัฒนธรรมชุมชนและสื่อพิธีกรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์
มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน).
กิตติ คงตุก. (2550). เพลงทยอยใน 3 ชั้น ในมุมมองสัญวิทยา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ตริตาภรณ์ หมู่ผึ้งและนุกูล แดงภูมี. (2561). กลยุทธ์ ส่งเสริม ดนตรี ไทย ใน แหล่ง ท่องเที่ยว เชิง วัฒนธรรม ใน เขต กรุงเทพมหานคร. Paper presented at the รายงานการประชุม Graduate School Conference.
นพคุณ สุดประเสริฐ. (2557). รูปแบบการขับร้องประกอบการแสดงโขนไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2554). ปฐมบทดนตรีไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม : โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำเร็จ คำโมงและคณะฯ. (2551). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ดนตรี ม.5. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.
สุรพล สุวรรณ. (2549). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.