การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

พลศาสตร์ ราชานนท์
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโนนสะอาดวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน โดยเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองขั้นต้น เครื่องมือที่ใช้มี 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน  รวม 14 ชั่วโมง  2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบอัตนัย จํานวน 7 ข้อ โดยแต่ละข้อมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบ Rubric 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 72.9 คิดเป็นร้อยละ 61.2 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เท่ากับ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านดำเนินการตามแผน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.75 อยู่ในระดับดี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านตรวจสอบผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.55 อยู่ในระดับดี
          2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 15.65 คิดเป็นร้อยละ 78.25 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เท่ากับ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 90.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุมน หนูคง และ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2557). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้า พระนครเหนือ. 5 (2), 185-189.

โรงเรียนโนนสะอาดวิทยา. (2561). หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนโนนสะอาดวิทยา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). ชัยภูมิ. โรงเรียนโนนสะอาดวิทยา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถรู้ของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนรู้เป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุวร กาญจนมยูร. (2555). เทคนิคการใช้สื่อทางคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เล่มที่1. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ถวรรณ จันทร์ลอย. (2551). รายงานการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน ค31101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วน. สุพรรณบุรี. โรงเรียนธรรมโชติศึกษาลัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิยูสนี อามะ และสิริพร ทิพย์คง. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์ โดยการใช้ฮิวริสติก. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 29 (1), 83-96.

ปริยากร สุภาพ. (2558). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

อรุณี ภูถมดี. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซตด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

อิทธิพัทธ์ ศุภรัตนาวงศ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษาภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. (2563). สื่ออิเล็กทรอนิกส์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา: http://www.nectec.or.th.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัชชัย บุญสวัสดิ์กุลชัย. (2543). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญนำ อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุงที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.