ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประชาชนในเขตตำบลบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ณัฏฐณิช คำภา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตตำบลบ้านค้อ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในเขตรับผิดชอบที่ได้รับวัคซีนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 345 คน กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคโควิด-19 และ ด้านการรับรู้การพัฒนาตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19  มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425, .375 ตามลำดับ


           ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตตำบลบ้านค้อ ตัวแปรตามโดยรวมทุกด้าน พบว่า ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตตำบลบ้านค้อ ตัวแปรตาม อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.05 S.D.=.28) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.08 S.D.=.17) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.07 S.D.=.28) และด้านการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.02 S.D.=.69) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

กัมปนาท โคตรพันธ์และ นิยม จันทร์นวล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16 หน้า 148-160.

ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์ และคณะ. (2563). การบริหารจัดการทรัพยากรสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยโดยใช้แบบจำลองข้อมูลจาก Big Data. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 29 (3), 386-99.

บงกช โมระสกุล และคณะ. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15 (37), 179-195.

เสาวลักษณ์ จินดาดีและคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับอาการของผู้ป่วยไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) โรงพยาบาลเขาสมิง จังหวัดตราด. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลเขาสมิง.

โสชัย โสวิกา และทบประดิษฐ์, รัชนีกร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม COVID – 19 ของประชาชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สิทธิชน จันทร์แพง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของประชาชนอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. สํานักงานสาธารณสุขอําเภอดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 1 (3), 83-100.

อภิวดี อินทเจริญ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน. 3 (2), 19-30.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research. 2, 49-60