ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน : กรณีศึกษา

Main Article Content

วีรวัฒน์ ทางธรรม
คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์
ผ่องพรรณ ภะโว
วาสนา พูลผล

บทคัดย่อ

         การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานก่อนและหลัง เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรค ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังได้รับโปรแกรม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า โดยเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในเขตพื้นที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างการป้องกันโรค ใช้ระยะเวลาในการเข้าร่วมจำนวน 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมพลังอำนาจส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับการสร้างเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคเบาหวาน 5 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของพฤติกรรมและพฤติกรรมการป้องกันโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  Paired t-test, Independence t-test ผลการวิจัยพบว่า
         1. ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรคกับที่เข้าร่วมโปรแกรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
        2.ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการป้องกันโรคที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจการป้องกันโรคก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05
        จากผลการศึกษานี้โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการเสริมพลังอำนาจส่วนบุคคล มีผลต่อความสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศิณี วงศ์สุบิน. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยเป็น โรคเบาหวาน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. ม.ป.ท.

นวลนิตย์ ไชยเพชร, อุดมศิลป์ แก้วกล่ำ, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์ และยุวดี วิทยพันธ์. (2560). ประสิทธิผลขอโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชน โพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (2), 45-62.

ทัศน์วรรณ พลอุทัย และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: กรณีศึกษาในตำบลห้วยเกิ้ง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร. 28 (4), 421-430.

รัชนี อุทธสิงห์, เผ่าไทย วงศ์เหลา และบวร ไชยษา. (2557). รูปแบบการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9 (2), 37-43.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2564). รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2564). รายงานประจำปี 2563. ประจวบคีรีขันธ์.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20เมษายน 2564 . แหล่งที่มา: www.prachuapkhirikhan. go.th/_2020/content/general.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2563.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์

Bland, J. and Altman, D. (1997) Statistics Notes: Cronbach’s Alpha. BMJ, 314, 572.

http://dx.doi.org/10.1136/bmj.314.7080.572

International Diabetes Federation. (2021). International Diabetes Federation Diabetes Atlas. (Seventh edition), retrieved 6 January 2022 from www.diabetesatlas.org

Roger, W . (1983) Cognitive And Physiological Process Motivation. Social Psychology. New York: Cacioppo.

Rogers, R. W. & Prentice-Dunn, S. (1997). Protection Motivation Theory. In Gochman, D.S.(Ed). Handbook of Health Behavior Research I: Personal and Social Determinants. (113-132). New York: Plenum Press.