หลักสูตรพัฒนาครูคณิตศาสตร์ต้นแบบในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ ความต้องการในการเข้ารับการอบรม และรูปแบบของหลักสูตรพัฒนาครูต้นแบบในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฯ 3) จัดอบรมครูต้นแบบฯ และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฯ และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหมวดคณิตศาสตร์ ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพการณ์และความต้องการในการอบรมฯ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง หลักสูตรพัฒนาครูต้นแบบฯ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรฯ แบบวัดความรู้ครูในการออกแบบและการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา คู่มือครู เอกสารประกอบการเรียน แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และ t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนด้านที่มีคะแนนการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านนักเรียนอยู่ในระดับน้อย ความต้องการในการเข้ารับการอบรมด้านที่มีคะแนนมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก รูปแบบของหลักสูตรเป็นการผสมผสานการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติออกแบบกิจกรรมพัฒนานักเรียน 2) หลักสูตรฯ ที่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใช้เวลาในการอบรม 2 วัน 3) การจัดอบรมครูในจังหวัดปทุมธานีมีครูเข้าอบรมจำนวน 30 คน และการจัดอบรมครูในจังหวัดนนทบุรีมีครูเข้าอบรมจำนวน 42 คน ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26 – 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด สังกัดโรงเรียนขนาดใหญ่ 4) ผลของการใช้หลักสูตรฯ แบ่งเป็น (1) ผลการจัดอบรมครู พบว่า ครูที่เข้าอบรมมีคะแนนความรู้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการจัดอบรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านของผู้เข้าอบรม อยู่ในระดับมาก (2) ผลการทดลองใช้กิจกรรมที่ครูต้นแบบฯ ออกแบบพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3 มีคะแนนการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและปานกลาง ตามลำดับ และ (3) ผลการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า ผู้เข้าร่วมเสวนามีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการนำความรู้ไปใช้ของผู้เข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรงศึกษาธิการ
จิราวรรณ เทพจินดา และคณะ. (2564). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการ ตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์อาจารย์และครูพี่เลี้ยง. NRRU Community Research Journal. 16 (1), 154–166.
ชนิสรา อริยะเดชช์, ณัฏฐชัย จันทชุม และ ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. RMU. J. 13 (3), 149–157.
ณัฏฐินี คํามา และ พัชราวลัย มีทรัพย์. (2562). การศึกษาความต้องการจําเป็นในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูผู้สอน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 13 (2), 590–603.
พัทธนันท์ รชตะไพโรจน์. (2559). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.
พิมพา จันทาแล้ว และ มัสยา รุ่งอรุณ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านการสอนงาน ประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับครูในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยวิชาการ. 5 (6), 137–149.
ภิญโญ วงษ์ทอง และสมเสมอ ทักษิณ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้แนวคิด STEAM เพื่อ เสริมสร้างทักษะที่จําเป็น 4Cs สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (45), 83–98.
วัลลีย์ ครินชัย และคณะ. (2566). สมรรถนะ ครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 25 (1), 355–365.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: หจก. ส เจริญการพิมพ์.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคิด วิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 12 (1), 218–236
อมลรดา มินเทน และ ดุจเดือน ไชยพิชิต. (2563). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Modern Learning Development. 5 (4), 145-158.