สภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

กฤษณะ โสขุมา
อภิชาติ ลือสมัย
ภัทรพร ตัสโต
เกศินี โสขุมา

บทคัดย่อ

          คณิตศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบมีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในทศวรรตที่  21 ในขณะที่ เทคโนโลยีมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ผู้วิจัยสนใจศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ 2) สำรวจความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และ 3) กำหนดรูปแบบการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 2 สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร และกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม  และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 118 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสำรวจสภาพการณ์และความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ในการเข้ารับการอบรมโปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ โดยเป็นการเข้ารับการอบรมโดยสมัครใจ ซึ่งจัดโดยหน่วยงานภายนอก  และหน่วยงานต้นสังกัด  2) ครูผู้สอนคณิตศาสตร์  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  มีความต้องการในการพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ โปรแกรม Geometer’s Sketchpad และ GeoGebra ส่วนโปรแกรมในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ Google Apps for Education และ Canva 3) รูปแบบในการจัดอบรม คือแบบการฝึกปฏิบัติ (Practical exercise) วันที่เหมาะสมในการจัดอบรม คือ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ และจัดอบรมเป็นเวลา 2 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิชากร นิธิวุฒิภาคย์, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2560). พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11 (3), 37-51.

ดาวเรือง บุตรทรัพย์. (2559). การใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4MAT เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทดสอบสมมติฐาน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วนิดา เขจรรักษ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู โดยใช้การบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรลักษณ์ คำหว่าง และ นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 6 (1), 129 – 138.

ภูมิพงศ จอมหงสพิพัฒน. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝกอบรมเพื่อเสริมสรางความสามารถ ในการจัดการ เรียนรูเชิงรุกของครูประถมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตรและมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (7), 334 – 349.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพมหานคร.

สมศักดิ์ คงเทศ. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสถานศึกษา ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุภาพรรณ อนุตรกุล. (2565). ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://erp.mju.ac.th/acticle Detail.aspx? qid=1246.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2564). 5 'ทักษะสมรรถนะ' พัฒนาครูในยุคดิจิตอลแพลตฟอร์ม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/935435

ไอริณ ถาวรนันท์. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นโดยใช้โปรแกรม GeoGebra เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประจวบวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cradler, J., McNabb, M., Freeman, M., & Burchett, R. (2002). How does Technology Influence Student Learning?. Learning & Leading with Technology. 29 (8), 46-49.

Creswell, J. W. (2014). Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.

Fisher, Cynthia D., Lyle F. & Shaw, James B. (1996). Human Resource Management. 3rd ed. Boston: Houghton Mifflin.

Koehler, M.J. and Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge? Contemporary Issues in Technology and Teacher Education. 9 (1), 60-70.

Loucks-Horsley, and other. (1990). Elementary school science for the’90s. Alexandria. VA:Association for Supervision and Curriculum Development.

National Council of Teachers of Mathematics [NCTM]. (2000). Principles and Standards For

School Mathematics. Reston, Virgina: NCTM.

Oliva, P. F.. (1992). Developing the Curriculum. (3rd ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Saylor, J. G., Alexander, W. M., & Lewis, A. J. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning. New York: Rinehart and Winston.

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.