คุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

นราธิป ธีรธนาธร
ธนวัฒน์ บุรีรัตน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณภาพชีวิตในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (2) ประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ (3) ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 264 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำแนกตามคณะที่สังกัดทั้ง 5 คณะ และศูนย์/สำนักภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใชเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบคาที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) และสถิติสหสัมพันธ์ (Pearson’ s Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบวา (1) คุณภาพชีวิตในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) คุณภาพชีวิตด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถ ด้านประชาธิปไตยในองค์กร และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์และสัมพันธ์กับสังคมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนัชชา จันคณา พิพัฒน์ ไทยอารี และศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2564). คุณภาพชีวิตของบุคลากรในหน่วยงานราชการที่มีผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษา : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2 (3), 1-30.

วาริณี โพธิราช. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM พัฒนาแรงงานและสวัสดิการ. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัทธนีย์ ขุนสิงห์สกุล และพชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2565). คุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 7 (2), 248-267.

อารียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, สาขาการจัดการทั่วไป. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cascio, W. F. (2003). Managing Human Resources: Productivity Quality of Work Life Profits 6th ed. New York: McGraw-Hill.

Certo, C. S. (2000). Modern management. New Jersey: Prentice Hall.

Conbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Drafke, M. W., & Kossen, S. (2002). The Human Side of Organizations (8th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Newstrom, J. W., & Davis, K. (1997). Organizational Behavior: Human Behavior At Work (10th ed.). New York: McGraw-Hill.

Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill: Irwin.

Walton, B. E. (1973). Quality of Work Life: What is it?. Sloan Management Review, 2 (1), 11-21.

Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International.