ความคาดหวังต่อการแสดงออกถึงพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรเพื่อลดความเสี่ยงการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุของวิชาชีพพยาบาล

Main Article Content

รจนาถ หอมดี
กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
ฐาศุกร์ จันประเสริฐ

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสดงออกถึงพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของวิชาชีพพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ตามความคาดหวังของพยาบาลประจำหอผู้ป่วย นักศึกษาพยาบาล และผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ประจำการในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 4 คน, ผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 4 คน และนักศึกษาพยาบาลตำรวจ 7 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และจัดกลุ่ม (Categorized)
            ผลการวิจัยพบว่า การแสดงออกถึงพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรเพื่อลดความเสี่ยงการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุตามความคาดหวังของพยาบาลวิชาชีพ นักศึกษาพยาบาล และผู้ป่วยสูงอายุ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย 10 พฤติกรรม ได้แก่ ความเคารพ ให้เกียรติ ยอมรับและเข้าใจ ความเต็มใจ ห่วงใย ความใส่ใจ ป้องกันอัตราย รับผิดชอบต่อหน้าที่ ให้กำลังใจ และจำกัดกิจกรรม และแบ่งเป็น 5 กระบวนทัศน์ คือ 1) การคงไว้ซึ่งความเชื่อ ความศรัทธา 2) การรู้จักในฐานะบุคคลหนึ่ง 3) การเฝ้าดูแลอยู่เสมอ 4) ช่วยเหลือทำกิจกรรมต่างๆ ให้ และ 5) สนับสนุนให้มีความสามารถ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2556). การดูแลอย่างเอื้ออาทร: หัวใจสำคัญของการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชะนี กรุงเทพ. 29 (2), 134-141.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา และ สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2552). ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทย: การทบทวนองค์ความรู้และสถานการณ์ในปัจจุบัน. มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ชวนนท์ จันทร์สุข, สมคิด พรมจุ้ย, สุพักตร์ พิบูลย์ และ เยาวดี สุวรรณนาคะ. (2560). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 10 (2), 71-88.

ณัชชา ตระการจันทร์. (2561). ทัศนคติต่อผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 3. 1213-1221.

สุนิสา ยุตะลัง และ ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2560). การพัฒนาบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุในหน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลโพนทอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35 (3), 196-203.

Labrague L. J., McEnroe-Petitte D. M., Ioanna P.V., Edet O.B., Arulappan J., and Tsaras K. (2017). Nursing Students’ Perceptions of Their Own Caring Behaviors: A Multicountry Study. International Journal of Nursing Knowledge. 28 (4), 225-232.

Leinninger, M.M. (1988). Caring an Essential Human Need: Proceedings of the Tree Nation Caring Conference. Detroil: Wayne State University.

Li Yuh-Shiow, Liu Chin-Fang , Wen-Pin Yu , Mills Mary Etta C., and Yang Bao-Huan. (2020). Caring behaviours and stress perception among student nurses in different nursing programmes: A cross-sectional study. Nurse Education in Practise,48, 1-7.

Naderi, Z., Gholamzadel, S., Zarshenas, L. and Ebadi, A. (2019). Hospitalized elder abuse in Iran: a qualitative study. BMC Geriatrics, 19, 307.1-13.

William, S.A. (1997). The Relationship of Patient’ Perception of Holistic Nursing Care to Satisfaction with Nursing Care, Journal of Nursing Care Quality. 11 (5), 15-29.