กลองในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระศักดิ์สกล สกฺกมหิทฺธิมลาวิโก (ผลสนอง)
พระครูปริยัติพัฒนบัณฑิต
พระครูสุธีคัมภีรญาณ
เพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ

บทคัดย่อ

          บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา แนวคิด และความเชื่อเรื่องกลองในพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่ความเชื่อของชาวลาว ซึ่งกลองในพระพุทธศาสนาใช้เสียงเป็นสิ่งสื่อสัญลักษณ์ การตีกลองเป็นกิจกรรมสำคัญในสมัยพุทธกาล กลองในพระไตรปิฎกและสมัยพุทธกาลมีหลายชนิด โดยจำแนกตามขนาดและชื่อเฉพาะ อีกทั้งยังเป็นเครื่องดนตรีในโลกสวรรค์ด้วย กลองในพระพุทธศาสนามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เรื่องราวของอดีตพุทธเจ้า อดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก การละเล่นตีกลองถือเป็นปฏิปักษ์ต่อสมณเพศ และมักเกี่ยวข้องกับพระวินัยบัญญัติของพระสงฆ์ กลองถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศชัยชนะ ใช้เป็นเครื่องหมายการประกาศธรรม ถูกนำมาอุปมากับหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา สัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องอานิสงส์ของกุศลธรรม และคุณวิเศษในพระพุทธศาสนา ความสำคัญของกลองถูกกล่าวถึงในคัมภีร์ชาดกจำนวนมาก อีกทั้งมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์พุทธปรินิพพาน และการปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้าอีกหลายตอน พระพุทธศาสนาของชาวลาวมีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์พิเศษ เนื่องจากมีการผสมกับคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวลาว รวมทั้งผสมกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแบบมหายาน กลองในพระพุทธศาสนาเถรวาทของชาวลาว ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ทางธรรม เสียงกลองถูกใช้ในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เป็นเสียงแห่งการประกาศธรรม การแสดงธรรม และเป็นเสียงแห่งตัวแทนของพุทธวจนะ ชาวลาวให้ความสำคัญกับเรื่องอานิสงส์การสร้างกลองและหอกลอง โดยมีจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน กลองเป็นเครื่องหมายการร่วมศรัทธาระหว่างพุทธศาสนิกชนลาวและชุมชนลาว โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง กลองถูกใช้ตีเป็นสัญญาณ เพื่อบอกเวลาในการทำบุญและสร้างกุศลกรรม เป็นเครื่องตักเตือนศาสนิกชนไม่ให้หลงลืมการทำบุญให้ทาน เป็นเครื่องดนตรีที่ผูกพันกับฮีดคองประเพณีของชาวลาว รวมถึงใช้ประโคมในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาและเทศกาลงานบุญ เสียงกลองลาวช่วยลดความตึงเครียดในการปฏิบัติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะนิสัยเฉพาะของชาวลาว นอกจากนี้เรื่องราวของกลองยังถูกผูกให้เกี่ยวข้องกับบุคคลสมัยพุทธกาล ผูกโยงกับพระพุทธเจ้า แสดงบทบาททั้งทางโลกและทางธรรม อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา และการระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กำพล จำปาพันธ์. (2558). นาคยุดครุฑ: “ลาว” การเมืองในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2558.

ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์. (2561). อุรังคธาตุ จ.ศ. 1167 (พ.ศ. 2348): เอกสารวิชาการลำดับที่ 28 กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: หจก. อภิชาติการพิมพ์.

ดวงจัน วันนะบุบผา. (2010). ท้าวเหลาคำ. เวียงจันทน์: หนุ่มลาว.

ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. (2553). พระพุททะสาสนาในปะเทดลาว: สึกสาตั้งแต่อะดีดจนเถิงปัดจุบัน. กุงเทบมะหานะคอน: สุขะพาบใจ, 2553.

ทาดขาว (ปริวรรต). (ม.ป.ป..). กาละเกด เหล้ม 1: วัดสีซมซื่น เมืองหีนบูน แขวงคำม่วน. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.,

ธิติพล กันตีวงศ์. (2557). ดนตรีล้านนา สล่าเครื่องตี. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.