การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ฉัตรชัย บัณฑิตรัตน์
โชติ บดีรัฐ
ศรชัย ท้าวมิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม และแนวทางการบริหารทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานคือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม คือ อาข่า และลาหู่ จำนวน 100 คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 6 อำเภอ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.867
          ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลกระทบของเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ต่อทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า มีผลกระทบต่อทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงรายทั้งด้านการประกอบอาชีพหรือทำงานอยู่ในระดับมาก 2)การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า กลุ่มมีการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมทั้งด้านวิธีการจัดการ การตลาด บุคลากร การสนับสนุนจากภาครัฐ ใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมออกแบบแนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และ 3)แนวการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเชิงนโยบาย ภาครัฐควรทบทวนและกำหนดนโยบายเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มชาติพันธุ์วางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์  อันควรพึงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวง. (2556). ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2556-2566. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวดี โกศล. (2561). การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 6 (2), 64-73.

วิเชียร มันแหล่.(2564). ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

โรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8 (11), 327-340.

วิสุทธิ์ ลีลาธรรมสัจจะ และคณะ. (2560). การศึกษารวบรวมองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Throsby. (2001). Economics and culture. Cambridge: Cambridge University Press