การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

เพชรดาว นิลสว่าง
พรเทพ เสถียรนพเก้า
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

          ความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดและพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่นที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการสอบถามผู้บริหาร และครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 500 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และ ระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ
          ผลการวิจัย พบว่า 1)  การบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล มี 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย 96 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลโครงสร้างการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า ไค-สแคว์ (Chi-square: c2) เท่ากับ 20.47 ไม่มีนัยสำคัญ ค่า df เท่ากับ 39 เมื่อพิจารณา ค่า c2 /df เท่ากับ 0.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ คือ ต่ำกว่า 2 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืม ที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 และค่าความคาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 3) คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เกสรี ลัดเลีย. (2555). การพัฒนาตัวชี้วัดของการบริหารจัดการการศึกษาระดับปฐมวัยตามแนวคิดสันติศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัย.

ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู. (2562). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัย: บทบาทผู้บริหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 13 (2), 135-156.

ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู. (2564). รูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นองค์รวม. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นวพร รักขันแสง และคณะ. (2559). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12 (1), 52-61.

บุญเชิด ชำนิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

ปราณิสรา แพหมอ. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน.

แวววรรณ พงษ์สะอาด. (2554). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างความมีประสิทธิผลของการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริมงคล ทนทอง และศศิรดา แพงไทย. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยยุคการศึกษา 4.0 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (3), 490-502.

สมพงษ์ อัสสาภัย. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุเมธ งามกนก. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย : นวัตกรรมการจัดการศึกษาด้วยแนวคิดไฮสโคป. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 32 (1), 204-215.

สุเมธ งามกนก. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การดําเนินงานตามยุทธศาสตรปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ์.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (30 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (ตอนที่ 56 ก). น. 30.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผน สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 – 2559) กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 -2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). คำอธิบายพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีเลฟเว่นสตาร์อินเตอร์เทรด.

อรุณี สาธรพิทักษ์. (2557). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Essa. (1996). Introduction to Early Childhood Education. (2nd ed). Albany: Delmar Publishers.

Gordon, A.M., & Williams-Browne, K. (1995). Beginings & beyond. (4th ed.). edition. New York: Delmar Publishers.