การสร้างสรรค์การสื่อสารดิจิทัลในด้านความบันเทิงเพื่อการธำรงรักษาวัฒนธรรมการแสดงของประเทศไทย

Main Article Content

สมาภรณ์ นวลสุทธิ์
สุจินดา พรหมขำ

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างมาก แม้แต่วงการสื่อก็นำเอาโซเซียลมีเดียมาใช้เป็นช่องทางในการกระจายข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข่าวสาร การติดตามกระแสปัจจุบันหรือเทรนด์ต่าง ๆ ทั้งนี้อาจจะเนื่องด้วยโซเชียลมีเดียมีความสะดวกสบายในการใช้งาน ตลอดจนการเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนนิยมใช้โซเชียลมีเดียที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มวัยใดก็ตาม จากการศึกษาทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมการแสดง การสร้างสรรค์การสื่อสารดิจิทัลในด้านความบันเทิงของประเทศไทยแนวคิดในการธำรงรักษาวัฒนธรรมในด้านความบันเทิงการแสดงของประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาการสื่อสารดิจิทัลเพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมความบันเทิงการแสดงของประเทศไทย พบว่าสื่อควรมีการปรับแต่งวัฒนธรรมการแสดงที่เป็นการผสมผสานให้เหมาะสมกลมกลืนกันให้อยู่ร่วมกันได้ในสังคมเดียวกัน เช่น ระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับใหม่ ระหว่างวัฒนธรรมเมืองกับชนบท ทำให้สังคมไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นเจริญขึ้น ประชาชนทุกคนรู้จักและเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรมการแสดงของประเทศไทยไทย โดยเฉพาะศิลปะ ประเพณี อย่างละเอียดลึกซึ้ง รู้ถึงเหตุและผล ความเป็นมา ให้รู้จักเลือกสรร ปรับปรุง ดัดแปลงให้เหมาะสม ตรงตามสภาพเดิมให้มากที่สุด เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นจริง เพื่อใช้ในการสร้างอนาคต รวมถึงการปรับตัวทางวัฒนธรรมควรพิจารณาองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดง (วรรณคดี ดนตรี การแสดง และศิลปกรรมอื่น ๆ) และสังคมวัฒนธรรมที่เป็นวิถีชีวิต ความเชื่อ เรียงร้อยประสานเข้าเป็นวัฒนธรรมการแสดงที่มีลักษณะเป็นองค์รวม มีลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคมวัฒนธรรมการแสดง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โกสินทร์ ชำนาญพล. (2562). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสารราชพฤกษ์. 17 (2), 130-138.

เขมณัฏฐ์ ดิสสงค์. (2562). การให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขา นิติศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ฉันทนา ปาปัดถา. (2561). การสังเคราะห์คุณลักษณะของนักสื่อสารมวลชนดิจิทัลตามกรอบสมรรถนะบุคคล.

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 26 (52), 143

ฐิติมา ปานศรี. (2562). ความเหลื่อมล้ำทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต

ณชรต อิ่มณะรัญ. (2562). การดำรงอยู่และสุนทรียภาพของสัญรูปนาคในสื่อบันเทิงไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต

ดำรงศักดิ์ สัตบุตร. (2564). การพัฒนาแบบจำลองด้านการสื่อสารเพื่อพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

นิษฐา หรุ่นเกษม และคณะ. (2562). การพัฒนามาตรฐานจริยธรรมพื้นฐานสำหรับสื่อมวลชน:แนวทางกำกับดูแลตัวเองสำหรับรายการเกมโชว์และเรียลลิตี้โชว์. รมยสาร. 16 (3), 413-403.

พัชรี จันทร์ทอง. (2562). อนุภาค แบบเรื่องและการดัดแปลงละครอิงประวัติศาสตร์ข้ามภพ เรื่อง ทวิภพ และ

บุพเพสันนิวาส. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขา นิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เยาวลักษณ์ โบราณมูล. (2565). ปัจจัยต่อการกำหนดประเด็นข่าวกับคุณค่าทางจริยธรรมของการ เสนอข่าว ช่อง 9MCOTHD ในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลภาวี สารโกศล. (2564). ทาการะ วอง : การสื่อสาร การแสดงความหมายและวัฒนธรรมกลุ่มย่อย. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต

วรินทร์ พูลผล. (2563). ความรู้ความเข้าใจปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารกับการคาดคะเนผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต

วิลาสินี น้อยครบุรี. (2562). การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด "พนมรุ้งมหาเทวาลัย". วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขา นาฏยศิลป์ไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุฑามาศ ราชวังเมือง. (2564). การอนุรักษ์และสืบสานการแกะหนังตะลุง บ้านควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สุทิพย์ บุญฮก. (2564). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับกลางในกลุ่มผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สสิธร เพิ่มสิน. (2562). บทบาทของโรงละครแห่งชาติในการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์