รูปแบบ PSP:DIBE Model ในการบริหารโรงเรียนตามนโยบายการเปิดเรียนแบบปกติหลังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิค-19 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

นวรัตน์ ไวชมภู
ชณัฐ พรหมศรี
นิรันดร์ จุลทรัพย์
พิไลพร เกษตรสมบูรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหาร 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของรูปแบบ PSP:DIBE Model ในการบริหารโรงเรียนตามนโยบายการเปิดเรียนแบบปกติหลังสถานการณ์ระบาดของโรคโควิค-19 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามปลายเปิดและแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของรูปแบบ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบทั้ง 2 ฉบับ ด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ด้วยสถิติค่าที ผลการวิจัย พบว่า
          1. ปัญหาด้านการบริหารตามมาตราการ 6-6-7 คือ การควบคุมผู้เรียนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ด้านผู้เรียน คือ ผู้เรียนมีภาวะถดถอยทางพฤติกรรม การปรับตัวเข้ากับสังคมและการเคารพกติกาของสังคม ด้านผู้ปกครอง คือ ขาดความรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้านบุคลากรในสถานศึกษา คือ มีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค ส่วนแนวทางการบริหารด้านการบริหารตามมาตรการ 6-6-7 คือ การปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ด้านผู้เรียน คือ การทบทวนความรู้เดิม/ปรับพื้นฐาน/ในด้านการอ่านออก เขียนได้ และการคิดเลข ด้านผู้ปกครอง คือ การความเข้าใจในมาตรการต่างๆ และด้านบุคลากรในสถานศึกษา คือ การจัดทำแนวทาง/นโยบาย
           2. รูปแบบที่ได้ คือ PSP:DIBE Model
           3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของ PSP:DIBE Model พบว่า มีความเที่ยงตรงตามสภาพการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปัณณทัต ตันธนปัญญากร, ทัศนพรรณ เวชศาสตร์, นลพรรณ ขันติกุลานนท์ และศศิวิมล จันทร์มาลี. (2565). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้เกี่ยววัคซีนป้องกันโรคโควิค-19 ของนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อสถานการณ์การระบาด. วารสารวิจัย และพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 6 (1), 73-87.

พระปลัดวีระศักดิ์ ปุกคํา .(2566). การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางสังคมหลังเกิดโรคระบาดโควิค 19.วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน. 17 (2), 93-105.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ .(2560). ที่ศึกษาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (1), 299-311.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.