การประยุกต์ข้อมูลภูมิสารสนเทศ จากระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม บริเวณเส้นทางคมนาคม อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จิรเมธ จุลวิเชียร
กฤษนัยน์ เจริญจิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม บริเวณเส้นทางคมนาคม อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการพัฒนาแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่  1) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม 2) การกำหนดปัจจัยเทคนิคการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ Analytic Hierarchy Process (AHP) โดยใช้แบบประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  3) ประยุกต์ข้อมูลภูมิสารสนเทศศาสตร์ ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการสำรวจด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Small Unmanned Aerial Systems (sUAS) ปี 2564  และข้อมูลภาพถ่ายจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 ปี 2564  4) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มฯ 5) วิเคราะห์เสนอทางเลือกแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม บริเวณเส้นทางคมนาคม อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
          ผลจากการศึกษาปรากฏว่า จากการประยุกต์ข้อมูลภูมิสารสนเทศศาสตร์ ระหว่างข้อมูลที่ได้จากการสำรวจด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก Small Unmanned Aerial Systems (sUAS) ปี 2564  และข้อมูลภาพถ่ายจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 ปี 2564  โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม  ร่วมกับข้อมูลพิกัดตำแหน่งในพื้นที่จริงที่เคยเกิดเหตุการณ์ดินถล่มในอดีต บริเวณเส้นทางคมนาคม อำเภอหนองใหญ่ และอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี พบว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก ปี 2564  สามารถแสดงรายละเอียดเชิงพื้นที่เหมาะสม และมีความแม่นยำเชิงตำแหน่ง  ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาและเป็นทางเลือกในการนำแบบจำลองพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม และประยุกต์ในพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อไป      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2564). ธรณีวิทยาภาคตะวันออก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=6827&filename=index

สุเพชร จิรขจรกุล, พีระวัฒน์ แกล้ววิการณ์, & สุนันต์ อ่วมกระทุ่ม. (2012). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินถล่มในเขตอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. Thai Journal of Science and Technology. 1 (3), 197-210.

แพร วา วิจิตร ธนสาร, & อนุ เผ่า อบ แพทย์. (2022). การพัฒนาแผนที่ความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย. การ ประชุม วิศวกรรม โยธา แห่ง ชาติ ครั้ง ที่ 27, 27(1), SGI17-11-SGI17-13.

Thomas L Saaty, & Luis G Vargas. (2012). The seven pillars of the analytic hierarchy process. In Models, methods, concepts & applications of the analytic hierarchy process (pp. 23-40): Springer.