การตัดสินใจเชิงจริยธรรมและแนวปฏิบัติบัญชีบริหารของผู้ทำบัญชี

Main Article Content

ชมชไม พงศ์ศรีโรจน์
สุจินดา เจียมศรีพงษ์

บทคัดย่อ

           ผู้ทำบัญชีเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในองค์กรช่วยบริหารจัดการทำให้การดำเนินงานมีความราบรื่นทั้งยังเป็นที่ปรึกษาวางแผนงานในการกำกับควบคุมทุกหน่วยงานในองค์กรทำได้ตามเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ในเวลารวดเร็ว ผู้ทำบัญชีจะมีคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการรวบรวมและจัดทำข้อมูลที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้บริหาร ผู้ทำบัญชีเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์สามารถให้คำปรึกษาวางแผนการปฏิบัติงาน และยังเป็นผู้มุ่งหวังสร้างผลประโยชน์ที่ดีให้กับองค์กร
         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ทำบัญชีและแนวปฏิบัติงานบัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ทำบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มาจากการคำนวณขนาด กลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ขนาดตัวอย่างต้องสอดคล้องกับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง และ การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
          ผลการวิจัยการตัดสินใจของผู้ทำบัญชีและแนวปฏิบัติงานให้เป็นที่ยอมรับในสังคม พบว่าข้อกำหนดในจรรยาบรรณที่นำมาบังคับใช้ไม่เท่ากันตามสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ  1)  ด้านจรรยาบรรณ 10 ตัวแปร อิทธิพลเป็นไปตามทฤษฎีมีทั้งหมด 7 ตัวแปร อิทธิพลเส้นทางโมเดลการวัดตัวแปรที่มีอิทธิพล ได้แก่ มีทักษะวิชาชีพทางบัญชี และมีการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง  2) นโยบายองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดแนวปฏิบัติทางบัญชีบริหารของอุตสาหกรรมค้าส่ง/ค้าปลีก อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการนำจรรยาบรรณมาเป็นข้อกำหนดในการบริหารจัดการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  3)  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดนำเสนอรูปแบบการตัดสินใจของนักบัญชีและแนวปฏิบัติทางบัญชีให้มีความน่าเชื่อถือเป็นไปตามความคาดหวังของสังคม เสริมสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียในทุกระดับขององค์กร ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยจรรยาบรรณมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมอย่างมีนัยสำคัญ มีอิทธิพลทางตรง 0.337 มีอิทธิพลทางอ้อม (ผ่านนโยบายและแนวปฏิบัติทางบัญชี) เท่ากับ 0.479  (อิทธิพลรวม 0.816) และนโยบายองค์กรมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรมอย่างมีนัยสำคัญ อิทธิพลทางตรง 0.688 มีอิทธิพลทางอ้อม (ผ่านแนวปฏิบัติทางบัญชี) -0.128 (อิทธิพลรวม 0.560)   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก ห่านนิมิตกุลชัย. (2556). แนวปฏิบัติและปัญหาในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด. สกลนคร.

นีออน พิณประดิษฐ์. (2554). จริยธรรมกับพัฒนาทางสังคม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ . มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Alleyne, B., 2011. Challenging Code: A Sociological Reading of the KDE Free Software Project. Sociology. 45 (3), 496 -511.

Chan, S. & Leung P. (2006). The effects of Accounting Students: Ethical reasoning and personal factors on their ethical sensitivity,. Managerial Auditing Journal.

Creswell, J., & Plano Clark, V. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks, CA: Sage

Fishcher, E. H. (1995). Attitude toward seeking professiona Psychologial help,. Considerations for research.

Hair, J. B. (2010). Multivariate data analysis,. Upper Saddle River.

Ittner & Larcker, (2001) Assessing Empirical Research in Managerial Accounting, A Value-Based Management Perspective. SSRN Electronic Journal, (pp.349-410).

Kalshoven, K., Den Hartog, D. N., & De Hoogh, A. H. B. (2011). Ethical leader behavior and Big Five factors of personality. Journal of Business.

PujiHarto. (2018). The value of the firm: Measuring performance, Using stochatic Frontier analysis,. Business , Accountancy. Indonesia.

Samuel Y S Chan, P.Leung.,(2006). The effect of Accounting student reasoning and personal factors on their ethicl sensitivity, Managarial Audit journal.

Scott, W.R. (2001). Institutions and Organizations 2nd edn. Sage, CA.

Stryker, S., & Serpe, R. T. (1994). Identity Salience and Psychological Centrality: Equivalent, Overlapping, or Complementary Concepts?. Social Psychology.

Thomson. (2002). The Future of Globalization,. Business and Society Review., 423 - 431.